
วินฟาสต์ ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าจากเวียตนาม อยู่ระหว่างการปูทางเพื่อแข่งขันกับตลาดรถยนต์ในประเทศไทยซึ่งตามแผนของรถเวียตนามค่ายนี้จะทำการส่งมอบรถคันแรกในเดือน มิถุนายน 2567 ทั้งนี้วินฟาสต์ได้เริ่มวางรากฐานแบรนด์และการรับรู้ เพื่อจะเพิ่มบทบาทในการสร้างการยอมรับสำหรับลูกค้าชาวไทย
นางฮานา วู ซีอีโอ วินฟาสต์ประเทศไทย กล่าวในงานประชุมFuture Mobility Asia 2024 เมื่อเร็วๆนี้ ว่า ปรัชญาที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางของวินฟาสต์ ถือเป็นกลยุทธ์การขยายธุรกิจทั่วโลกของวินฟาสต์
"หลายปีที่ผ่านมาผู้ผลิตรถยนต์ แข่งขันกันในด้านความสามารถทางวิศวกรรม สมรรถนะในการขับขี่และแต่ปัจจุบันภูมิทัศน์การแข่งขันได้เปลี่ยนไป ประสบการณ์ของลูกค้ากลายเป็นสมรภูมิรบใหม่"นางวู กล่าวย้ำและว่า
ในฐานะผู้มาใหม่ในตลาดEV วินฟาสต์ได้พัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และสร้างกลยุทธ์ ธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับแต่ละตลาด
สำหรับ วินฟาสต์ให้ความสำคัญกับนโยบายหลังการขายโดยการรับประกัน วินฟาสต์ให้คำมั่นว่าจะให้บริการลูกค้าอย่างดีเยี่ยมด้วยการรับประกันเป็นเวลา7-10ปี/160,000-200,000กม. ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดในตลาดของประเทศไทยเพื่อลดอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในการนำมาใช้" นางฮานากล่าวและว่า เนื่องจากความซับซ้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญในท้องถิ่น วินฟาสต์ ได้ให้ความสำคัญกับการขยายเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายในแต่ละตลาดเป้าหมายประสบการณ์ในตัวแทนจำหน่าย ยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการตัดสินใจของผู้บริโภคการสร้างตัวแทนจำหน่ายที่แข็งแกร่ง
"การขยายเครือข่ายของเราไปยังเมืองใหญ่ๆและมอบโซลูชันการเดินทางด้วยรถยนต์ไฟฟ้าที่ปลอดภัยสะดวกและชาญฉลาด วินฟาสต์ กำลังปูทางไปสู่ระบบนิเวศรถยนต์ไฟฟ้าที่ยั่งยืนและสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นด้วยการส่งเสริมความร่วมมือและให้ความสำคัญกับโซลูชันที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง"นางวูกล่าว
เมื่อเร็วๆ นี้ เวบไซต์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ รายงานถึงแผนการล่าสุดของวินฟาสต์ ในการเลือกจำหน่ายรถในไทย โดยอ้าง คำให้สัมภาษณ์ของ ฮานา วู ที่ระบุว่า รถรุ่นแรกของวินฟาสต์ที่จะเปิดตัวในเดือนมิถุนายน2567นี้คือ VF5 ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากรุ่นทีได้วางแผนไว้หลังจากได้สำรวจ ความต้องการของผู้บริโภคในงานบางกอก มอเตอร์ โชว์ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
"ก่อนหน้านี้ วินฟาสต์ได้แถลงแผนธุรกิจในไทยโดยจะเริ่มทำตลาดด้วยรถรุ่น VF e34 ในเดือนมิถุนายนจากนั้นตามด้วยรุ่น VF 5 ในเดือนสิงหาคม-กันยายนและเปิดตัว VF 6 และ VF 7 ภายในสิ้นปี 2567"
ส่วนรูปแบบการจำหน่ายที่ก่อนหน้านี้ วินฟาสต์ ระบุว่ามีแผนที่จะนำรูปแบบการขายจากเวียดนาม และอินโดนีเซีย มาใช้ในไทยคือการบอกรับสมาชิกสำหรับแบตเตอรี หรือ ขายเฉพาะตัวรถ แต่ให้เช่าแบตเตอรีใช้งาน
เพื่อลดภาระเงินการวางเงินก้อนแรกในการเป็นเจ้าของรถ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค และความเห็นของตัวแทนจำหน่ายพบว่า การเช่ายังคงไม่เหมาะสมกับตลาดประเทศไทย ดังนั้นวินฟาสต์จึงปรับรูปแบบมาเป็นการจำหน่ายรถในลักษณะปกติ
"แหล่งข่าวจากวงการยานยนต์ระบุว่า สาเหตุที่วินฟาสต์ยกเลิกโมเดลเช่าแบตเตอรี่เนื่องจาก ราคาค่าเช่าของแบตเตอรี่แพงเกินไปเทียบได้กับการดาวน์รถญี่ปุ่นเครื่องICE 1 คันซึ่งเชื่อว่าหากทำราคาเช่าเช่นนี้จะไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดที่มีการแข่งขันด้านราคากันอย่างรุนแรงแน่นอน ทั้งนี้ความท้าทายต่อความล้มเหลวของแบรนด์วินฟาสต์ในประเทศไทยมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง เนื่องจาก ตลาดมีผู้ค้ารถยนต์ญี่ปุ่นที่แข็งแกร่ง ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าก็ถูกรถจากจีนครอบครองอย่างมั่นคง ในขณะที่ชื่อเสียงและการรับรู้ใน"แบรนด์วินฟาสต์"ยังอยู่ในขั้นต่ำเนื่องจากเป็นแบรนด์หน้าใหม่ ผู้บริโภคยังไม่เคยมีประสบการณ์รวมถึงความไม่ไว้วางใจแบรนด์รถจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันที่มีภาพลักษ์ที่ไม่ดี อย่างที่"โปรตอน"ของมาเลเซีย ที่เคยล้มเหลวและละทิ้งลูกค้าชาวไทย กลางทางมาแล้ว
สำหรับวินฟาสต์ผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า(EV)สัญชาติเวียดนาม เริ่มต้นเข้าสู่ตลาดประเทศไทยครั้งแรก จาการร่วมแสดงรถในงานบางกอก อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์ ที่เมืองทองธานีเมื่อดือนเมษายน2567 ที่ผ่านมา โดยนำรถมาร่วมแสดง 5 รุ่น รวมถึงรถต้นแบบกระบะ ต้นแบบ และจักรยานยนต์ และ สกูตเตอร์ ไฟฟ้า