EN / TH

Pakelo Lubricants แบรนด์น้ำมันหล่อลื่นแท้จากอิตาลีแท้ เผยกลยุทธ์เด็ดมัดใจคนไทย ชูจุดเด่นด้านสมรรถนะ และพันธมิตรทั่วประเทศ

29 เมษายน 2567

Lexus เผยโฉม NX 2024 MNC พร้อม NX 450h+ Overtrail สำหรับสายลุย ราคา 4,180,000 บาท

29 เมษายน 2567

VinFast ทำการบ้านมาดี ปรับแผนเต็มที่เพื่อบุกตลาดบ้านเราโดยเฉพาะ โดยเข้าใจถึงสถานการณ์สำคัญอย่าง "ราคา"

29 เมษายน 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

NEW MG4 ELECTRIC ไตรมาสแรกของปียอดพุ่ง 45% รถ EV ดีไซน์สปอร์ต ในราคาเริ่มต้น เพียง 709,900 บาท

26 เมษายน 2567

NEW Yamaha XMAX CONNECTED 2024 ไฟหน้า-ท้าย LED ดีไซน์ใหม่ เรือนไมล์แบบใหม่ แสดงผล 2 หน้าจอ Digital LCD 3.2” พร้อมจอสี TFT 4.2 ในราคา 191,100 บาท

26 เมษายน 2567

มิตซูบิชิ ไทรทัน คว้ารางวัลความปลอดภัยสูงสุด 5 ดาว จาก ANCAP กลายเป็นรถกระบะดับเบิ้ลแค็บรุ่นแรก ที่ทำได้ในรอบ 2 ปี

26 เมษายน 2567

สแกนเนียเตรียมเปิดตัวรถบรรทุก ยูโร 5 กลางปี พร้อมเผย ยูโร 3 ล็อตสุดท้าย เหลือไม่ถึง 30 คันแล้ว

26 เมษายน 2567

New ISUZU D-Max 2024 ปรับไมเนอร์ฯในออสเตรเลียขาย 25 รุ่น ท็อปสุดรุ่น X-Terrain 1.7 ล้านบาท

26 เมษายน 2567

ISUZU Australia แถลงยืนไม่ออกจากตลาดนี้ พร้อมปรับตัวสู่มาตรฐานไอเสียที่เข้มงวดด้วยรถรุ่นใหม่ (NVES)

26 เมษายน 2567

Lamborghini Urus SE ซุปเปอร์คาแบบ PHEV SUV รุ่นแรกของแบรนด์ พลัง 800 แรงม้า ทำ 0-100 km/h ได้ใน 3.4 วินาที

25 เมษายน 2567

ประวัติศาสตร์สู่อนาคต MG EXE 181 อีกหนึ่งไฮเปอร์คาร์ มอเตอร์ไฟฟ้า 4 ตัว ทำ 0-100 km/h ได้ในไม่ถึง 1 วินาที Top speed อยู่ที่ 415 km/h

25 เมษายน 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

IMV - เมด บาย โตโยต้า ตอนที่ 2: ความหวัง และภารกิจทวงแชมป์รถกระบะไทย

26 พฤศจิกายน 2566| จำนวนผู้เข้าชม 1,855

 
 
 
ในอดีต โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย (TMT) เคยได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในตลาดรถรถกระบะ โดยมีรถตัวสำคัญในการทำตลาดก็คือรหัส ไฮลักซ์ แต่บังลังก์แชมป์ต้องถูกแย่งชิงไป เมื่อถึงการมาของ รถกระบะอีซูซุ ชื่อรุ่นไทยๆ ติดปากว่า รถกระบะอีซูซุ "มังกรทอง" และนับตั้งแต่สูญเสียตำแหน่งผู้นำตลาดไป ยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยก็ยังไม่สามารถเบียดแย่งตำแหน่งกลับมาได้เลย แม้ช่วงหลายปีที่ผ่านมา โตโยต้าจะมีส่งอาวุธหนักอย่าง การยอมเปลี่ยนเครื่องยนต์ นำเอาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ คอมมอนเรล มาใส่ในกระบะก่อนใครก็ตาม แต่ถึงวันที่ โครงการ IMV เดินสายการผลิตรถรหัสใหม่ ภายใต้ชื่อการค้า  "วีโก้" (VIGO) นี่คือตัวแทน ความหวังและการแก้แค้นให้ ไทเกอร์ ผู้พ่ายแพ้
 
 วีโก้ (VIGO) เป็นชื่อของรถกระบะ  ที่ต่อท้ายคำว่า ไฮลักซ์ ซึ่งมาแทน โตโยต้า ไฮลักซ์ ไทเกอร์ (HILUX TIGER) เป็นรถตัวเอกในโครงการไอเอ็มวี ที่โตโยต้าใช้เงินลงทุน 3.1 หมื่นล้านบาท สำหรับพัฒนา กระบะและอนุพันธุ์กระบะ เช่น เอสยูวี, เอ็มพีวี  วีโก้ เป็นรถที่โตโยต้าพัฒนาขึ้น โดยลบจุดอ่อนในไทเกอร์ ให้มากที่สุด ในช่วงเปิดตัว วีโก้ คือ รถที่มีรุ่นหรือ Trim  ให้เลือกมากที่สุด  ไม่ว่าจะเป็นรุ่นมาตรฐาน รุ่นเอ็กซ์ตร้าแค็บ และดับเบิลแค็บ ทั้งขับเคลื่อน 2 ล้อ และขับเคลื่อน 4 ล้อ รวมแล้ว มากกว่า 10 รุ่น(Trim)ด้วยกัน แบ่งรุ่นย่อยออกเป็น G, E, J-PS และ J ซึ่ง J เป็นระหัสใหม่สำหรับตลาดราคาประหยัด แสดงให้เห็นถึงการวางตำแหน่งให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้า ทุกระดับ
 
นอกจากจะมีความหลากหลายแล้ว  การออกแบบโครงรถให้มี โครงสร้างตัวถังที่ใหญ่ที่สุดในรถระดับเดียวกัน ในเวลานั้น องค์ประกอบนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ขนาดตัวรถที่ผ่านมาเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของ อีซูซุ ดีแมคซ์ ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับไทเกอร์แล้ว สิ่งที่ลูกค้าเห็นชัดและหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อสำคัญ คือ ดีแมคซ์ มีขนาดที่ใหญ่กว่ากันอย่างชัดเจน
 
ผู้ใช้รถรถกระบะบ้านเรา ใช้รถหลากหลายจุดประสงค์ บางคน คำนึงเรื่องของการบรรทุก ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของการเกิดรถรถกระบะ แต่คนไทยเกือบ 50% ใช้รถรถกระบะ ไม่แตกต่างไปจากรถเก๋ง คือ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบาย หรือความบันเทิงจะต้องครบครัน
 
ในตลาดเวลานั้น กระบะแม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเห็นภาพที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงหากนำรถรุ่นเมื่อสัก 10 ปีก่อนหน้า  อุปกรณ์ความปลอดภัย ความสะดวกสบายหรือเพื่อความหรูหราเพิ่มขึ้น แต่อารมณ์ภายในห้องโดยสาร ก็ยังไม่สามารถ หนีภาพของรถบรรทุกไปได้  สำหรับ วีโก้ ใหม่ โตโยต้า สร้างภาพลักษณ์ภายในห้องโดยสารใหม่ ให้ดูหรูหรา ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบคอนโซลหน้าที่ ไม่ได้เน้นเส้นเรียบตรงเหมือนอดีต  แต่ให้ความรู้สึกโอบกระชับ การออกแบบอุปกรณ์ต่างๆ ที่ดูกลมกลืนและสวยงาม รวมไปถึงอุปกรณ์มาตรฐานที่เพิ่มเข้ามา เช่น เครื่องเล่น ซีดี เอ็มพี 3 ที่มีลำโพงทวิสเตอร์ฝังไว้ที่เสาเอ หรือการที่ เบาะนั่งคนขับปรับระดับสูง-ต่ำได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เคยเสนอแต่ในรถเก๋ง หาไม่ได้ในรถกระบะ
 
หัวใจของวีโก้ คือการนำเสนอรถที่มีขนาดใหญ่ทุกมิติ  เทียบกับไทเกอร์ แล้ว  วีโก้ มีความกว้างเพิ่มขึ้น 60 มม.ความสูงเพิ่มขึ้น 55 มม. ส่วนความยาวเพิ่มขึ้น 95 มม. (ข้อมูลเอ็กซ์ตร้า แค็บ ขับเคลื่อน 2 ล้อเทียบไทเกอร์)
 
ในรุ่น ดับเบิลแค็บ วีโก้ เพิ่มความยาวฐานล้อขึ้นถึง 235 มม. หรือเกือบ 1 ฟุต นั่นก็หมายถึงว่าเป้าหมายของโตโยต้า ทำให้รถรุ่นนี้รองรับความต้องการใช้งานบรรทุกผู้โดยสารมากขึ้น การเพิ่มขนาดความยาวภายในห้องโดยสาร 25 มม. เพิ่มความกว้าง 65 มม.และความสูง 30 มม. ทำให้เบาะนั่งมีพื้นที่เพิ่มมากขึ้น การนั่งง่ายขึ้น เบาะนั่งแถวหลังสามารถพับเก็บได้ โดยตัวเบาะรองนั่งสามารถยกขึ้นได้ (ฟังก์ชั่นนี้ มีใช้ในอีซูซุ I -190 ที่จำหน่ายในตลาดอเมริกาเหนือ) จุดเด่นเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ นำมาใส่ไว้ในรถอย่างตั้งใจ  ซึ่งมันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อค่อนข้างมาก
      
รถกระบะนั้นหัวใจหลักคือเครื่องยนต์สำหรับโตโยต้า ถือเป็นผู้ริเริ่มใส่เครื่องยนต์ คอมมอน เรล (ระบบจ่ายน้ำมันสำหรับเครื่องดีเซล แบบแรงดันสูง) ในรถกระบะเป็นรายแรก  แต่ยังไม่สามารถเจาะตลาดอีซูซุได้ในขณะนี้ การมาก่อนเวลาทำให้ โตโยต้า ต้องเสียเวลาในการสร้างความเข้าใจให้กับลูกค้าถึงเทคโนโลยีนี้ ในขณะที่ มี ข่าวว่า อีซูซุก็พร้อมออกเครื่องยนต์ คอมมอนเรล  เช่นกัน แต่ก็ดูเหมือนว่า ในช่วงแนะนำโครงการ IMV โตโยต้าจะเตรียมตัวกับเรื่องนี้มาพอควร นั่นคือการนำเครื่องยนต์คอมมอนเรล รุ่นที่ 2 เป็นขุมพลังที่ พัฒนามาจากรุ่นทดลอง ที่ถูกทดสอบในช่วงปลายโมเดลของไทเกอร์ เครื่องใหม่ เป็นระบบเครื่องยนต์เทอร์โบ แปรผัน และอินเตอร์คูลเลอร์ 2 ขนาดเครื่องยนต์  คือ 2KD-FTV ขนาด 2.5 ลิตร และ 1KD-FTV ขนาด 3.0 ลิตร
 
เครื่องยนต์ 2.5 ลิตร เทอร์โบแปรผัน อินเตอร์คูลเลอร์ ที่โตโยต้าเรียกว่า 2KD-FTV (I/C)  ให้กำลัง 120 แรงม้า แรงบิด ที่320 นิวตันเมตร ซึ่งหากเทียบกับคอมมอนเรลรุ่นแรกแล้ว จะเห็นว่าต่างกันสิ้นเชิง เพราะตัวแรกให้กำลังแค่ 102 แรงม้า อย่างไรก็ตาม ตอนทำตลาดวีโก้ โตโยต้าก็คงเครื่องยนต์ 2KD-FTV 102 แรงม้า ไว้เป็นตัวเลือกของกลุ่มลูกค้าที่ไม่เน้นความแรงของเครื่องยนต์มากนัก ส่วน 1KD-FTV (I/C) เทอร์โบแปรผัน อินเตอร์คูลเลอร์ 3.0 ลิตร นั้นทำให้โตโยต้ากลายเป็นรถรถกระบะที่แรงที่สุดเท่าที่ตลาดรถกระบะเมืองไทยเคยมี คือมีม้า 160 ตัว สูงกว่า 1KT-FTV  ตัวเดิมที่เคยทำได้ 125 ม้าเท่านั้น
 
ยุคนั้น กระบะเครื่องแรง ที่เป็นความแปลกใหม่และฮือฮามากในตลาด เกิดขึ้นเมื่อครั้งหนึ่งเมื่อนิสสันปล่อยเครื่องยนต์ รหัส 3.0 ZD DDT  กำลัง 150 แรงม้า ออกมา
โดยนิสสันจับเครื่อง 3.0 ZD DDT ให้เป็นรถรุ่นพิเศษ แต่เครื่องแรง 1KD-FTV (I/C) ของโตโยต้า ลูกค้าหาซื้อได้ ทั้งจากรุ่นมาตรฐาน เอ็กซ์ตร้าแค็บ และดับเบิลแค็บ ไม่ต้องรอรุ่นพิเศษหรือเพิ่มงบให้ยุ่งยาก
 
การปรับเปลี่ยนชนิดใหม่หมดของกระบะจากโครงการ IMV  เรียกว่าได้สร้างบรรทัดฐานให้กับอุตสาหกรรมรถรถกระบะของไทย ในขณะที่โตโยต้าเวลานั้นได้เทเม็ดเงินลงทุนมหาศาลกับผู้จัดจำหน่าย โชว์รูม เครือข่ายขาย, อะไหล่บริการ เป็นยุคที่เราได้เห็นโชว์รูมสีแดงผุดทั่วเมืองอย่างรวดเร็ว  วีโก้ เวลานั้นมีภาระกิจ "ฝ่าด่านอีซูซุ เพื่อเข้าใกล้บรรลังก์แชมป์" และสุดท้าย วีโก้ก็ได้เป็นแชมป์ จนกระทั่ง IMV2 เริ่มขึ้นชื่อวีโก้ เปลี่ยนเป็นรีโว่  ภาคสองของ IMV แชมป์กระบะของโตโยต้าก็เริ่มไม่มั่นคงอีกครั้ง
 
บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี

แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 เมษายน 2567

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 มีนาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 มกราคม 2567

อีซูซุ ซีรีย์ ตอนที่ 2: เมืองหลวงข้าใครอย่าแตะ

8 มกราคม 2567

อีซูซุ ซีรีย์: ตอน1 ก่อนจะมีวันที่ดีของตรีเพชรฯ

4 มกราคม 2567

สำรวจภาพไทยกับทุนใหม่ ในวันที่รถญี่ปุ่นอ่อนแรง

9 ธันวาคม 2566

รถชาวจีน ยุคสอบไม่ผ่านการออกแบบ

7 ธันวาคม 2566

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ