EN / TH

“The new E-Class: Launch Edition” ผลิตจำนวนจำกัด โผล่เซอร์ไพรส์กลางมอเตอร์โชว์ เคาะราคา 3.99 – 4.25 ล้านบาท **โปรโมชั่นจองในงานลุ้นรับ C-Class หรือชิงทองคำ มูลค่ารวม 4 ล้านบาท!!

27 มีนาคม 2567

พบกับ Triumph คัสตอม Speed 400 และ Scrambler 400 X ผลงานจากสำนักแต่งชั้นนำ K-SPEED และ ZUES CUSTOM ในงาน Motor Show 2024

27 มีนาคม 2567

BMW นำทัพยนตรกรรมพรีเมียม 8 รุ่นมาแสดงในงานมอเตอร์โชว์ พร้อมข้อเสนอพิเศษ อัปเกรด BSI นานถึง 10 ปี หรือฟรี Wallbox สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น

27 มีนาคม 2567

Mitsubishi ขนทัพยานยนต์รุ่นใหม่มาตรฐาน EURO5 ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาให้เยี่ยมชมกันในงานมอเตอร์โชว์ พร้อมโปรโมชั่นพิเศษ ดอกเบี้ย 0%

27 มีนาคม 2567

Automobili Lamborghini ทำสถิติยอดขายทะลุ 10,000 คันเป็นครั้งแรกในปี 2023 ฟันกำไรกว่า 2.8 พันล้านบาท!!

27 มีนาคม 2567

ฟอร์ดปลื้ม! เอเวอเรสต์ แพลทินัม จองครบ 350 คัน ภายในวันแรก (และหมดภายในชั่วโมงแรก)

27 มีนาคม 2567

VOLVO ชวนคุณร่วมทดลองขับ Volvo EX30 ครั้งแรกอย่างเป็นทางการในประเทศไทย นวัตกรรมยานยนต์เพื่อความยั่งยืนในอนาคต ที่งานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45

27 มีนาคม 2567

ไลน์อัพรถไฟฟ้า VinFast ที่มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 พร้อมรถกระบะไฟฟ้าต้นแบบ VF Wild และบริการหลังการขายสูงสุด 10 ปี

27 มีนาคม 2567

YAMAHA ฉลองครบรอบ 60 ปี ยกทัพนวัตกรรมยานยนต์สุดล้ำเข้าร่วมงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 พร้อมเผยตัว MOTOROiD2 ยานยนต์ AI อัจฉริยะ

27 มีนาคม 2567

BMW MOTORAD ประเทศไทย บิดคันเร่งเข้าสู่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 พร้อมด้วยมอเตอร์ไซค์ 4 รุ่นใหม่ ตอบโจทย์หลายสไตล์การขับขี่

27 มีนาคม 2567

อีซูซุจัดเต็มมอเตอร์โชว์ 2024 นำเสนอยนตรกรรมหลายทางเลือก รวมทั้งรถ EV เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทุกไลฟ์สไตล์

27 มีนาคม 2567

NEW MG5 PRO 2024 หน้าใหม่ ราคาน่ารักเพียง 629,000 บาท โฉบเฉี่ยวยิ่งกว่าเดิม พร้อมสีเขียวใหม่ เครื่องยนต์เบนชิน 1.5 ลิตร 114 แรงม้า และอัพเกรดระบบความปลอดภัยให้ทันสมัยยิ่งขึ้น

27 มีนาคม 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

สศอ. หน่วยงานที่ TOYOTA ต้องแจ้งเอกสารมาตรฐานการชน UN-R95 เพื่อพิสูจน์ตามการรับรอง ECO STICKER

9 พฤษภาคม 2566| จำนวนผู้เข้าชม 1,855

จากกรณีโตโยต้าออกมายอมรับว่ามีการปรับแต่งชิ้นส่วนเพื่อการทดสอบของ Toyota YARIS ATIV ในการทดสอบการชนด้านข้างก่อนผลิตเพื่อจำหน่ายให้ผ่านมาตรฐาน UN-R95 แม้ผู้บริหารระดับสูงของโตโยต้าจะเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อแถลงชี้แจงการทดสอบครั้งใหม่เพื่อยืนยันผลการทดสอบที่มีปัญหา แต่ก็ยังมีขั้นตอนในการยื่นเอกสารการทดสอบต่อหน่วงงานภาครัฐ ซึ่งหนึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กำกับโดยกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่จัดทำ Eco Sticker ซึ่งต้องระบุการผ่านมาตรฐาน UN-R95
 
 
 
 
คำถาม ถ้าไม่ผ่านมาตรฐานจะมีผลอย่างไร..? คำตอบคือ มีผลทางภาษีแน่นอน เพราะรถยนต์ที่ผลิตออกจำหน่ายไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ประเภทใด จะต้องเป็นรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด และหากรถยนต์ประเภทใดต้องการลดหย่อยภาษีเพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติ ก็ต้องผลิตรถยนต์ที่มีข้อกำหนดเพิมเติมตามแต่ละโครงการที่ภาครัฐออกนโยบายมาเช่น Eco Car (รถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม) เป็นต้น โดยในเคสนี้ โตโยต้าจำหน่ายรถยนต์ไปแล้ว 39,757 คัน และมีรถผลิตรอการส่งมอบอีกจำนวนหนึ่งที่โรงงานโตโยต้า เกตเวย์ ซึ่งยังไม่ระบุจำนวน
 
มาตรฐานการทดสอบ UN-R95 (Protection of the Occupants in the event of a Lateral Collision) คือการทดสอบเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยของยานยนต์ในเรื่องการปกป้อง ผู้ขับขี่จากการชนด้านข้าง ข้อกำหนดทางเทคนิค UN-R95 จะเป็นการทดสอบโดยนำแบบจำลองหัวรถยนต์ที่สามารถยุบตัวได้ (Deformable Barrier) เคลื่อนที่พุ่งเข้าชนรถยนต์ทดสอบซึ่งจอดอยู่นิ่ง ในแนวตั้งฉากด้านข้าง (ด้านผู้ขับขี่) ด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
 
 
 
 
ภายหลังการชน จะมีการตรวจสอบดังนี้
  • สภาพของหุ่นจำลอง (ผู้ขับขี่) ได้แก่ การบาดเจ็บที่หัว ,การบาดเจ็บที่หน้าอก, Soft Tissue Criterion, แรงกดหน้าท้อง และแรงกดที่หัวหน่าว ดังนี้
 
  • การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Leakage) และระบบป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 กรัมต่อนาที
  • ต้องสามารถนาหุ่นจำลองออกจากรถทดสอบได้
  • ต้องสามารถปลดล็อคระบบป้องกัน (Protective System) ได้
  • ไม่มีการเสียรูปของอุปกรณ์ภายในที่ทาให้แหลมคมและมีอัตราเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
 
 
 
 
หมายเหตุ
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่อะไร
 
หนึ่งในหน้าที่รับผิดชอบของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คือ บริการข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงลึกรายสาขา (Intelligence Unit)
ทำหน้าที่จัดเตรียมข้อมูลข่าวสารเชิงลึกและการวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆสำหรับอุตสาหกรรมไทย โดยข้อมูลข่าวสารในเชิงลึกต่างๆ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากเครือข่ายระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเฉพาะทางต่างๆอันได้แก่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ สถาบันอาหาร สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย สถาบันยานยนต์ และสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ และในอนาคตเครือข่ายนี้จะเชื่อมโยงไปยังสถาบันอุดมศึกษา สภาอุตสาหกรรม และสถาบันเฉพาะทางในด้านอุตสาหกรรมอื่นๆอีก โดยองค์ประกอบหลักของระบบ Intelligence Unit มีดังต่อไปนี้
 - ข้อมูลภาพรวมด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แบบ One Stop Service คือมีการรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไว้ในที่เดียวกันเพื่อความสะดวกของผู้ใช้งาน
 - ข้อมูลเชิงลึกในสาขาอุตสาหกรรมต่างๆอาทิเช่น ข้อมูลทางด้านการตลาด R&Dกฎหมาย ระเบียบและมาตรฐานอุตสาหกรรม
 - ข้อมูลนำเข้าส่งออกจากประเทศต่างๆทั่วโลก
 - บทวิเคราะห์ประเด็นร้อนแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทย
 - งานวิจัยทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
 - ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ
 - ข้อมูลการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
 - ระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
 

แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 มีนาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 มกราคม 2567

อีซูซุ ซีรีย์ ตอนที่ 2: เมืองหลวงข้าใครอย่าแตะ

8 มกราคม 2567

อีซูซุ ซีรีย์: ตอน1 ก่อนจะมีวันที่ดีของตรีเพชรฯ

4 มกราคม 2567

สำรวจภาพไทยกับทุนใหม่ ในวันที่รถญี่ปุ่นอ่อนแรง

9 ธันวาคม 2566

รถชาวจีน ยุคสอบไม่ผ่านการออกแบบ

7 ธันวาคม 2566

IMV - เมด บาย โตโยต้า ตอนที่ 3: อีซูซู - โตโยต้า..กว่าจะมาถึงวันนี้

28 พฤศจิกายน 2566

IMV - เมด บาย โตโยต้า ตอนที่ 2: ความหวัง และภารกิจทวงแชมป์รถกระบะไทย

26 พฤศจิกายน 2566

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ