EN / TH

Audi E5 Sportback รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่พัฒนาร่วมกับ SAIC

25 เมษายน 2568

GWM วางแผนตีตลาดกระบะฟูลไซส์ ท้าชนแบรนด์อเมริกา Chevrolet Ford RAM

25 เมษายน 2568

ZEEKR Group เปิดตัว ZEEKR 9X SUV ขุมพลังไฮบริดรุ่นแรกของแบรนด์

25 เมษายน 2568

Toyota เปิดตัว bZ7 ซีดานไฟฟ้าระดับเรือธง พัฒนาร่วมกับ GAC

24 เมษายน 2568

All-new Lexus ES เปิดตัวแล้ว มาพร้อมขุมพลังไฮบริดและไฟฟ้า!

24 เมษายน 2568

GAC Honda GT และ Dongfeng Honda GT รถยนต์ไฟฟ้าซีรีส์พิเศษสำหรับตลาดประเทศจีน

24 เมษายน 2568

เปิดตัว Nissan Frontier Pro รถกระบะปลั๊กอินไฮบริด เครื่องยนต์เบนซิน ช่วงล่างด้านหลังแบบ 5-Link

23 เมษายน 2568

Dongfeng Nissan N7 เปิดตัวที่งาน Auto Shanghai 2025 วิ่งได้ไกล 635 กิโลเมตร!

23 เมษายน 2568

เผยภาพภายใน Mazda EZ-60 มาพร้อมจอกลางขนาด 26 นิ้ว ความละเอียด 5K

22 เมษายน 2568

เนต้า ผู้อยู่ริมหน้าผา ใกล้กลับมาเกิดใหม่เพราะ .....?

19 เมษายน 2568

เผยสเปคและราคาในออสเตรเลีย KIA Tasman

18 เมษายน 2568

Honda Fit ไมเนอร์เชนจ์ในประเทศจีน กระจังหน้าเปลี่ยนใหม่หมด!

18 เมษายน 2568

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567| จำนวนผู้เข้าชม 584

ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นับจากปี 2534 เป็นต้นมา มีการลงทุนจากแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกจนขนานนามไทยว่าเป็น"ดีทรอยด์แห่งเอเซีย" ความสามารถในการผลิตของไทยสูงนั้นมากจากการวางรากฐานที่สำคัญมากว่า 60 ปี ประวัติศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ทำให้ไทยโดดเด่นในฐานะศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาคในช่วง 30 ปีหลัง คือยุคทองของไทยแต่ปัจจุบันความแข็งแกร่งในแง่อุตสาหกรรมรถยนต์ กำลังจะปริแตกจากปัจจัยหลายประการ งรวมถึงการดำเนินนโยบายทางด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ไม่ได้สะท้อนภาพเป็นจริง


หลังจากรัฐบาลไทยเริ่มส่งเสริมการผลิตรถยนต์พลังงานใหม่และดูเหมือนจะทอดทิ้งการผลิตเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทำให้บรรดาผู้ผลิตดั้งเดิมต่างมองหาแหล่งผลิตใหม่ เพราะการดำเนินนโยบายส่งเสริมรถยนต์พลังงานใหม่ที่ก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม ประกอบกับความต้องการในประเทศอ่อนตัวลงมากโดยไม่มีการเหลียวแลจากภาคนโยบายทำให้การลงทุนใหม่ การรักษาฐานดั้งเดิมไม่มีแรงจูงใจให้บรรดาผู้ผลิตรถยนต์รักษาฐานการผลิตไว้อีกต่อไป


เห็นได้จากการเริ่มปิดโรงงานหรือหาแหล่งซัพพลายรถแห่งใหม่ การโยกการผลิตรถยนต์บางรุ่นไปยังประเทศที่ไม่เสียเปรียบทางด้านต้นทุนบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ดั้งเดิมในไทยได้เริ่มกระจายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียตนาม ไทยกำลังกลายเป็นเพียงพื้นที่ทำตลาด โดยไม่จำเป็นต้องมีกิจกรรมการผลิตอีกต่อไป ล่าสุดการนำเข้ารถยนต์จากแห่งการผลิตใหม่ๆ เช่น เวียตนามโดยฮุนได มอเตอร์ ที่นำเข้ารถยนต์รุ่น PALISADE ยังชี้ให้เห็นภาพความจริงหลายอย่างถือเป็นสัญญาเตือนถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี

เวียตนามส่งรถเข้าไทยครั้งประวัติศาสตร์
ฮุนได พาลิเสท เป็นรถยนต์เอสยูวี 3 แถว 7 ที่นั่งรุ่นแรกที่บริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย)จำกัด เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 พ.ย.2567 ที่ผ่านมา เป็นรถยนต์เกาหลีที่ผลิตในเวียตนาม ถือเป็นรถนำเข้าสำเร็จรูป(CBU)จากเวียตนามรุ่นแรกของฮุนไดเข้ามาจำหน่ายในตลาดไทย และเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมเวียตนามที่สามารถส่งออกรถผลิตในประเทศมายังไทย แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของเวียตนามเอง คือ วินฟาสต์ เตรียมตัวทำตลาดในไทยแต่สุดท้าย วินฟาสต์ก็ถอนตัวออกไปเพราะไม่สามารถแข่งขันกับรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่ทำสงครามราคาอย่างรุนแรงในตลาดได้

ส่งที่น่าสังเกตจากการที่ ฮุนได มอเตอร์ สั่งรถจากเวียตนามมาจำหน่ายในไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสต์นั้น คือ เราเห็นถึงการปรับตัวและกระจายฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาฐานการผลิตเดียว และลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะในเวียดนามที่มีต้นทุนแรงงานต่ำกว่าประเทศไทย นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็น ถึงประสิทธิภาพของโรงงานผลิตในเวียดนามซึ่งโรงงานของฮุนไดในเวียดนามได้รับการพัฒนาให้สามารถผลิตรถยนต์ในปริมาณมากและมีคุณภาพสูง ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถรองรับความต้องการในตลาดทั้งในเวียดนามและในตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาคได้


ไทยกำลังทำร้ายตัวเอง
ความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของไทยเริ่มมีความเสี่ยง มีรถยนต์หลายค่ายเพิ่มสัดส่วนการนำเข้ารถมายังไทยรวมถึงค่ายสำคัญอย่าง ฟอร์ด กำลังสนใจเพิ่มบทบาทฐานการผลิตในเวียตนามเพราะ สามารถจำหน่ายรถยนต์กระบะเรนเจอร์ได้จำนวนมาก ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย คือ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในไทย ประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับบางประเทศในอาเซียน เช่น เวียดนาม หรือ อินโดนีเซีย ที่มีค่าแรงถูกกว่า ในขณะที่ 2ประเทศนี้ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและการลงทุนที่ดีกว่า

แม้ไทยจะมีการรับมือการเปลี่ยนแปลงในแนวโน้มยานยนต์โลกด้วยการสร้างฐานการผลิตEV และ Mobility หลายคนชื่นชมว่า ไทยนั้นปรับตัวในการดึงดูดนักลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ดี โดยเฉพาะ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) แต่ ไทยอาจไม่สามารถรักษาตำแหน่งเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคได้ เพราะอนาคตของเทคโนโลยีรถยนต์ BEVที่ไทยเราให้การส่งเสริมสุดซอย ไม่ว่าการพัฒนาสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ EV เช่น สถานีชาร์จ และนโยบายที่สนับสนุนการพัฒนา EV ด้วยเงินสนับสนุนรถยนต์ใหม่และ การลดภาษีนำเข้าที่จัดเก็บในอัตราต่ำมาก มีแนวโน้มที่เปลี่ยนไป เราพบว่าการบริโภครถยนต์ BEV ของโลกเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จากสอดการเติบโตของรถยนต์ HEV, PHEV ที่กำลังมาแรงในขณะที่ยอดขายรถยนต์BEV ส่วนใหญ่ซึ่งถูกกำหนดโดยผู้ผลิตรถยนต์จากจีนในไทยกำลังชะลอตัว

จีนกับบทบาทที่น่าสงสัย
จีนนั้นมีบทบาทนำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเมืองไทย แต่กำลังมีคำถามว่า รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนจะสามารถพัฒนาต่อยอดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยได้ เหมือนที่ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นปฎิบัติ ทั้งนี้โรงงานรถยนต์จากจีนที่ลงทุนหลายแห่ง คือ คำตอบของเศรษฐกิจไทยในอนาคตหรือไม่?

เราจะพบว่า ในปัจจุบัน โรงงานรถจีนไม่ได้ลงทุนในไทยเพียงประเทศเดียวแต่ จีนกระจายฐานการผลิตไปทั่วภูมิภาคอาเซียน ทั้งประเทศเล็ก ประเทศใหญ่ในขณะที่โรงงานในไทย จีนยังไม่สามารถใช้กำลังการผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ กลับลงทุนในมาเลเซีย อินโดนีเซีย จะเห็นได้ว่า โรงงานผลิตรถยนต์แบรนด์จีนในไทยบางแห่งเปิดโรงงานอย่างเป็นทางการแต่หลังมีพิธีเปิด แล้วก็ปิดโรงงานไว้เฉยๆ นี่ไม่รวมถึงกิจการต่างๆ ทั้งภาคการผลิต การจ้างงาน ล้วนพึ่งพาบุคคลของตนเอง คำถามคือ ไทยได้อะไรจากการให้ส่วนลดภาษี ให้เงินสนับสนุนการออกรถใหม่ไปมากมายแถมยังก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมในตลาด


"กิจกรรมของจีนนั้นต้องการเพียงให้ผ่านเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับสำนักงานส่งเสริมการลงทุนโดยไม่ได้จริงจังกับการพัฒนาหรือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทย เพราะลำพัง รถในประเทศก็ล้นตลาด เรายังคงเห็น รถยนต์จีนส่วนใหญ่ เป็นรถ CBU ที่ไม่ต้องแบก ภาระลงทุนโรงงาน ซึ่งหมายความว่าในแง่ที่จีนมองไทย ไทยเป็นเพียงพื้นที่ระบายสินค้าส่วนเกินเท่านั้น"


กรณีของฮุนได พาลิเสท เองก็เสียภาษีสรรพสามิต 30% เท่ากับรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ(CKD) ในขณะที่การนำเข้ารถยนต์จากอาเซียนยังได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าหรือจัดเก็บเป็น 0% จากข้อตกลงทางการค้าในภูมิภาค ASEAN Free Trade Area (AFTA) ส่งเหล่านี้ทำให้เกิดคำถาม ว่า ทำไมผู้ผลิตรถยนต์ต้องลงทุนผลิตรถในไทยให้ยุ่งยากเพราะผลิตในไทยก็ต้องเสียภาษีชิ้นส่วน ภาษีเครื่องจักรและภาระการลงทุนอื่นๆอีกมากมาย สู้นำเข้าสำเร็จรูปดีกว่า แนวคิดนี้ก็เช่นเดียวกับ ผู้ผลิตรถดั้งเดิมจากฝั่งญี่ปุ่น ที่เริ่มคิดเหมือนกันว่า ทำไมต้องแบกภาระการดูแลโรงงาน บุคคลากรตามการลงทุนสร้างโรงงาน จึงไม่แปลกใจว่า ฮอนด้า ซูบารุ ซูซูกิ มองหาตัวช่วยที่สามารถขยายตลาดได้โดยไม่ต้องเผชิญกับภาระเหล่านี้ นั่นคือการเริ่มกระจายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ

ประเทศไทย จำเป็นต้องแข่งขันกับประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า แต่ทั้งนี้ดูเหมือน ผู้กำกับนโยบาย อุตสาหกรรมรถยนต์ของเราไทย ยังไม่ตื่น ในการปรับตัวเพื่อให้สามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันไว้ได้ ซึ่งหากช้าแบบนี้ดีทรอยด์ แห่งเอเซีย มีล่มสลายแน่นอน

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี

 


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขหลักการทำงาน "หัวฉีด i-ART" กุญแจความประหยัด TOYOTA HILUX REVO

28 กุมภาพันธ์ 2568

EV ไทยในเงื้อมมือจีน: เมื่อแผนใหญ่ต้องเจอความเสี่ยงและความท้าทาย"

20 มกราคม 2568

ข่าวร้ายส่งท้ายปี รง.เนต้าไทย เลิกจ้าง" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกขาดอากาศหายใจ"

26 ธันวาคม 2567

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับ