EN / TH

Audi E5 Sportback รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่พัฒนาร่วมกับ SAIC

25 เมษายน 2568

GWM วางแผนตีตลาดกระบะฟูลไซส์ ท้าชนแบรนด์อเมริกา Chevrolet Ford RAM

25 เมษายน 2568

ZEEKR Group เปิดตัว ZEEKR 9X SUV ขุมพลังไฮบริดรุ่นแรกของแบรนด์

25 เมษายน 2568

Toyota เปิดตัว bZ7 ซีดานไฟฟ้าระดับเรือธง พัฒนาร่วมกับ GAC

24 เมษายน 2568

All-new Lexus ES เปิดตัวแล้ว มาพร้อมขุมพลังไฮบริดและไฟฟ้า!

24 เมษายน 2568

GAC Honda GT และ Dongfeng Honda GT รถยนต์ไฟฟ้าซีรีส์พิเศษสำหรับตลาดประเทศจีน

24 เมษายน 2568

เปิดตัว Nissan Frontier Pro รถกระบะปลั๊กอินไฮบริด เครื่องยนต์เบนซิน ช่วงล่างด้านหลังแบบ 5-Link

23 เมษายน 2568

Dongfeng Nissan N7 เปิดตัวที่งาน Auto Shanghai 2025 วิ่งได้ไกล 635 กิโลเมตร!

23 เมษายน 2568

เผยภาพภายใน Mazda EZ-60 มาพร้อมจอกลางขนาด 26 นิ้ว ความละเอียด 5K

22 เมษายน 2568

เนต้า ผู้อยู่ริมหน้าผา ใกล้กลับมาเกิดใหม่เพราะ .....?

19 เมษายน 2568

เผยสเปคและราคาในออสเตรเลีย KIA Tasman

18 เมษายน 2568

Honda Fit ไมเนอร์เชนจ์ในประเทศจีน กระจังหน้าเปลี่ยนใหม่หมด!

18 เมษายน 2568

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

สศอ. หน่วยงานที่ TOYOTA ต้องแจ้งเอกสารมาตรฐานการชน UN-R95 เพื่อพิสูจน์ตามการรับรอง ECO STICKER

9 พฤษภาคม 2566| จำนวนผู้เข้าชม 2,311

จากกรณีโตโยต้าออกมายอมรับว่ามีการปรับแต่งชิ้นส่วนเพื่อการทดสอบของ Toyota YARIS ATIV ในการทดสอบการชนด้านข้างก่อนผลิตเพื่อจำหน่ายให้ผ่านมาตรฐาน UN-R95 แม้ผู้บริหารระดับสูงของโตโยต้าจะเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อแถลงชี้แจงการทดสอบครั้งใหม่เพื่อยืนยันผลการทดสอบที่มีปัญหา แต่ก็ยังมีขั้นตอนในการยื่นเอกสารการทดสอบต่อหน่วงงานภาครัฐ ซึ่งหนึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กำกับโดยกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่จัดทำ Eco Sticker ซึ่งต้องระบุการผ่านมาตรฐาน UN-R95
 
 
 
 
คำถาม ถ้าไม่ผ่านมาตรฐานจะมีผลอย่างไร..? คำตอบคือ มีผลทางภาษีแน่นอน เพราะรถยนต์ที่ผลิตออกจำหน่ายไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ประเภทใด จะต้องเป็นรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด และหากรถยนต์ประเภทใดต้องการลดหย่อยภาษีเพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติ ก็ต้องผลิตรถยนต์ที่มีข้อกำหนดเพิมเติมตามแต่ละโครงการที่ภาครัฐออกนโยบายมาเช่น Eco Car (รถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม) เป็นต้น โดยในเคสนี้ โตโยต้าจำหน่ายรถยนต์ไปแล้ว 39,757 คัน และมีรถผลิตรอการส่งมอบอีกจำนวนหนึ่งที่โรงงานโตโยต้า เกตเวย์ ซึ่งยังไม่ระบุจำนวน
 
มาตรฐานการทดสอบ UN-R95 (Protection of the Occupants in the event of a Lateral Collision) คือการทดสอบเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยของยานยนต์ในเรื่องการปกป้อง ผู้ขับขี่จากการชนด้านข้าง ข้อกำหนดทางเทคนิค UN-R95 จะเป็นการทดสอบโดยนำแบบจำลองหัวรถยนต์ที่สามารถยุบตัวได้ (Deformable Barrier) เคลื่อนที่พุ่งเข้าชนรถยนต์ทดสอบซึ่งจอดอยู่นิ่ง ในแนวตั้งฉากด้านข้าง (ด้านผู้ขับขี่) ด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
 
 
 
 
ภายหลังการชน จะมีการตรวจสอบดังนี้
  • สภาพของหุ่นจำลอง (ผู้ขับขี่) ได้แก่ การบาดเจ็บที่หัว ,การบาดเจ็บที่หน้าอก, Soft Tissue Criterion, แรงกดหน้าท้อง และแรงกดที่หัวหน่าว ดังนี้
 
  • การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Leakage) และระบบป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 กรัมต่อนาที
  • ต้องสามารถนาหุ่นจำลองออกจากรถทดสอบได้
  • ต้องสามารถปลดล็อคระบบป้องกัน (Protective System) ได้
  • ไม่มีการเสียรูปของอุปกรณ์ภายในที่ทาให้แหลมคมและมีอัตราเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
 
 
 
 
หมายเหตุ
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่อะไร
 
หนึ่งในหน้าที่รับผิดชอบของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คือ บริการข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงลึกรายสาขา (Intelligence Unit)
ทำหน้าที่จัดเตรียมข้อมูลข่าวสารเชิงลึกและการวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆสำหรับอุตสาหกรรมไทย โดยข้อมูลข่าวสารในเชิงลึกต่างๆ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากเครือข่ายระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเฉพาะทางต่างๆอันได้แก่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ สถาบันอาหาร สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย สถาบันยานยนต์ และสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ และในอนาคตเครือข่ายนี้จะเชื่อมโยงไปยังสถาบันอุดมศึกษา สภาอุตสาหกรรม และสถาบันเฉพาะทางในด้านอุตสาหกรรมอื่นๆอีก โดยองค์ประกอบหลักของระบบ Intelligence Unit มีดังต่อไปนี้
 - ข้อมูลภาพรวมด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แบบ One Stop Service คือมีการรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไว้ในที่เดียวกันเพื่อความสะดวกของผู้ใช้งาน
 - ข้อมูลเชิงลึกในสาขาอุตสาหกรรมต่างๆอาทิเช่น ข้อมูลทางด้านการตลาด R&Dกฎหมาย ระเบียบและมาตรฐานอุตสาหกรรม
 - ข้อมูลนำเข้าส่งออกจากประเทศต่างๆทั่วโลก
 - บทวิเคราะห์ประเด็นร้อนแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทย
 - งานวิจัยทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
 - ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ
 - ข้อมูลการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
 - ระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
 

แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขหลักการทำงาน "หัวฉีด i-ART" กุญแจความประหยัด TOYOTA HILUX REVO

28 กุมภาพันธ์ 2568

EV ไทยในเงื้อมมือจีน: เมื่อแผนใหญ่ต้องเจอความเสี่ยงและความท้าทาย"

20 มกราคม 2568

ข่าวร้ายส่งท้ายปี รง.เนต้าไทย เลิกจ้าง" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกขาดอากาศหายใจ"

26 ธันวาคม 2567

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับ