EN / TH

Audi E5 Sportback รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่พัฒนาร่วมกับ SAIC

25 เมษายน 2568

GWM วางแผนตีตลาดกระบะฟูลไซส์ ท้าชนแบรนด์อเมริกา Chevrolet Ford RAM

25 เมษายน 2568

ZEEKR Group เปิดตัว ZEEKR 9X SUV ขุมพลังไฮบริดรุ่นแรกของแบรนด์

25 เมษายน 2568

Toyota เปิดตัว bZ7 ซีดานไฟฟ้าระดับเรือธง พัฒนาร่วมกับ GAC

24 เมษายน 2568

All-new Lexus ES เปิดตัวแล้ว มาพร้อมขุมพลังไฮบริดและไฟฟ้า!

24 เมษายน 2568

GAC Honda GT และ Dongfeng Honda GT รถยนต์ไฟฟ้าซีรีส์พิเศษสำหรับตลาดประเทศจีน

24 เมษายน 2568

เปิดตัว Nissan Frontier Pro รถกระบะปลั๊กอินไฮบริด เครื่องยนต์เบนซิน ช่วงล่างด้านหลังแบบ 5-Link

23 เมษายน 2568

Dongfeng Nissan N7 เปิดตัวที่งาน Auto Shanghai 2025 วิ่งได้ไกล 635 กิโลเมตร!

23 เมษายน 2568

เผยภาพภายใน Mazda EZ-60 มาพร้อมจอกลางขนาด 26 นิ้ว ความละเอียด 5K

22 เมษายน 2568

เนต้า ผู้อยู่ริมหน้าผา ใกล้กลับมาเกิดใหม่เพราะ .....?

19 เมษายน 2568

เผยสเปคและราคาในออสเตรเลีย KIA Tasman

18 เมษายน 2568

Honda Fit ไมเนอร์เชนจ์ในประเทศจีน กระจังหน้าเปลี่ยนใหม่หมด!

18 เมษายน 2568

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567| จำนวนผู้เข้าชม 1,221

ตลาดรถไทยยุครุ่งเรืองนั้นคงเป็นแค่ภาพลวงตาแม้จะพยายามเผยแพร่ความคึกคักและยอดขายมากมายจากงานมอเตอร์โชว์ว่าตลาดคึกคักแต่ในความเป็นจริง ตลาดรถยนต์ไทยไม่ได้สดใสแถมยอดขายติดลบต่อเนื่องกันมาถึง 17 เดือนแล้วและกำลังส่งผลกระทบทุกภาคส่วนธุรกิจที่เกี่ยวโยง

ไตรมาสแรกทรุดตัว 25%
จากรายงานของ บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเผยแพร่ สถิติการขายปลีกรถยนต์จากผู้ประกอบการระบุว่า ในไตรมาสแรก 2567(ม.ค.-มี.ค.67) ตลาดรถไทยทุกยี่ห้อมีปริมาณการขาย 163,756 คัน ลดลง 24.6% หากแบ่งออกเป็นเช็คเมนท์ พบว่า ตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 65,615 คัน ลดลง15.4% ,ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ มีปริมาณการขาย 98,141 คัน ลดลง 29.7%,ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) มีปริมาณการขาย 56,425 คัน ลดลง 44.4%และตลาดรถกระบะ(Pure Pick up) มีปริมาณการขาย 46,611 คัน ลดลง 44% จะเห็นว่าในไตรมาสแรกนั้น ตลาดรถติดลบทุกเช็คเมนท์โดยมีตลาดกระบะ อันเป็นหัวใจของเศรษฐกิจขนาดเล็กและเกษตกรลดลงสูงสุด 44.4%

ติดลบ 17 เดือนต่อเนื่อง
หากพิจารณาจากเป้าหมายอุตสาหกรรมที่ประเมินไว้เมื่อต้นปี 2567 ว่าจะมียอดขายทั้งปี 800,000 คันเท่ากับว่า ตลาดรถไทยเพิ่งจำหน่ายไปได้เพียง 20% ของเป้าหมาย ซึ่งในอีก3ไตรมาสที่เหลือ หากจะทำได้ตามเป้าหมายต้องเร่งการขายให้ได้ 210,000 คันต่อไตรมาสที่สำคัญคือตลาดรถยนต์ไทยนั้น ติดลบติดต่อกัน  17 เดือน นับจากพ.ย.2565แสดงให้เห็นถึงการถดถอยอย่างชัดเจน

4 ปัจจัยลบแรงเกินต้าน
เมื่อพิจารณายอดขายที่ลดลงในตลาดไตรมาสแรก ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อขายรถยังไม่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบแสดงให้เห็นถึงปัจจัยเดิมๆที่มีอิทธิพลต่อตลาดรถยนต์ไทยยังไม่ถูกถูกเยียวยาปัจจัยลบ 4 ปัจจัยได้แก่

1.เศรษฐกิจประเทศอ่อนแอ-ส่งผลให้ผู้บริโภค ไม่มั่นใจในการลงทุนกับรถยนต์ และเลือกที่จะเลื่อนการซื้อไปในอนาคต ทำให้ภาพรวมตลาดรถจากเติบโตช้า

2.กำลังซื้อยังคงจำกัด จากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของภาคเศรษฐกิจโดยรวม- หลายคนได้ยินเสียงบ่น จาก บรรดาพ่อค้าแม่ค้า ตลาดทั่วไป ถึงยอดขายที่ลดลงเกือบ1ใน3  เพราะว่า คนไม่มีกำลังซื้อซึ่งภาวะนี้ค่อนข้างรุนแรง นับจากต้นปี 2567 เป็นต้นมาก


3. ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ สถาบันการเงิน ได้เพิ่มความระมัดระวังในการกรองลูกค้าและเริ่มเข้มขึ้นเรื่อยๆ  นโยบายนี้สะท้อนภาวะที่ไม่ปกติที่สถาบันการเงินรับรู้ถึงความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อ จากปริมาณหนี้เสียที่เกิดขึ้น ซึ่งกว่า 80% ของการซื้อรถในประเทศไทยใช้ระบบสินเชื่อ การจำกัดความสามารถในการซื้อรถของผู้บริโภคส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดรถ


4.ผลต่อเนื่องจากความล่าช้าของงบประมาณปี67 ซึ่งมีผลต่อการดำเนินงานของภาครัฐและเอกชน –โครงการขนาดใหญ่ เชื่อมโยงตลาดรถยนต์บรรทุก รถขนดิน รถปูน รถขนวัสดุต่างๆ ได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่

 

รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มร่วง 25%
จากรายงานของโตโยต้าเมื่อเดือน ก.พ.2567 ระบุว่า มีปัจจัยด้านบวกที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์โดยรวม อาทิ สัดส่วนการขายของตลาดรถยนต์นั่งในประเทศที่ขยายตัวได้ดี โดยได้กระแสความนิยมในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ได้อานิสงส์จากมาตรการสนับสนุนด้านราคาของภาครัฐ ตลอดจนตัวเลขการส่งออกรถยนต์ของไทยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสัดส่วนการผลิตเพื่อส่งออกในช่วงที่ผ่านมาเพื่อชดเชยการส่งมอบรถที่ล่าช้าจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนสำคัญจนทำให้การผลิตล่าช้าออกไปในปีก่อนหน้านี้
ซึ่งในไตรมาสแรกนี้ ปัจจัยบวกด้านการส่งออกยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะไทยยังสามารถส่งออกรถยนต์ได้เพิ่มขึ้นแม้จะมีอัตราเติบโตของการส่งออกลดลงก็ตาม

ก่อนหน้านี้เช็คเมนท์ยานยนต์ไฟฟ้า ดาวรุ่งของตลาดคือตัวกระตุ้นกลุ่มตลาดรถยนต์นั่งให้มีอัตราการเติบโต จากการเปิดตัวรัวๆของบริษัทรถยนต์หน้าใหม่และความนิยมของผู้บริโภคแต่อิทธิพลนั้นได้สิ้นสุดไปเมื่อสิ้นปี 2566 เห็นได้จาก ในไตรมาสแรก 2567 ตลาดรถยนต์นั่งชะลอตัวลง 15.4% จากเดิมเคยเป็นเช็คเมนท์เดียวจาก 4 เช็คเมนท์ ที่มีการเติบโต และรถยนต์ไฟฟ้า( BEV) เดือนมีนาคม2567 นั้นมียอดขายอยู่ที่ 5,167 คันแต่มีปริมาณการเติบโตลดลง 25.6%

ทำนายเมษายนฟื้น
รายงานของโตโยต้าระบุอีกว่าปัจจัยบวกของตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายน 2567 มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นเนื่องจากกระแสการท่องเที่ยวในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น จากช่วงเทศกาลสงกรานต์สามารถเพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนภายในประเทศ และถือเป็นหนึ่งในปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจในภาพรวมและรวมถึงการเริ่มส่งมอบรถยนต์ใหม่ที่จองในงาน บางกอก มอเตอร์โชว์ครั้งที่ 45 เป็นปัจจัยบวกและเริ่มส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์

ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าในเดือนเมษายนทุกๆปี ยอดขายรถยนต์จะเป็นไปในทิศทางบวกแต่บวกเพียงเดือนเดียวจากยอดซื้อในงานมอเตอร์โชว์ จากนั้นเดือนอื่นๆ หลังเมษายนเป็นต้นไปหากยังคงมีปัจจัยลบเดิมเช่นนี้ ตลาดยังติดลบต่อเนื่องและในปีนี้ก็เช่นกันคาดว่าหลังเดือนเมษายนตลาดจะติดลบเช่นกัน

เปิด 10 อันดับรถยนต์ครองตลาดไทย
สำหรับยอดการจำหน่ายรถยนต์ไตรมาสแรก (ม.ค. – มี.ค.67) มีรถยนต์ที่ได้รับความนิยม  10 อันดับแรกในตลาดดังนี้                

บีวายดีผงาดลำดับ 6 ตลาดรถไทย
โดยจะเห็นว่าบรรดารถยนต์แบรนด์ชั้นนำระดับเทียร์ 1 ยังคงยืนอยู่แถวหน้าของตลาดท่ามกลางความกดดันได้ทั้งโตโยต้า ฮอนด้า อีซูซุ ซึ่ง 3 ค่ายนี้รวมกันครองตลาดกว่า 66% อย่างไรก็ตามรถเกรดเทียร์ 1 ในอื่นๆที่เคยมีชื่อเสียงกลับชะลอตัวลงไปเช่น นิสสัน มาสด้า ในขณะที่มีแบรนด์ที่โดดเด่นและสามารถก้าวขึ้นมาครองส่วนแบ่งตลาดรถรวมได้ถึง 6.1% รั้งอยู่ในลำดับที่ 4 ของรถที่ขายดีที่สุดในไตรมาสแรกคือบีวายดี (BYD)ไล่หลังอีซูซุ (14.9%) ทั้งนี้เมื่อปลายปี 2566 บีวายดีมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 3.9% เท่านั้นถือเป็นความสำเร็จของรถยนต์แบรนด์จีนที่เจาะกำแพงรถญี่ปุ่นได้สำเร็จ ส่วนลำดับที่ 5 คือมิตซูบิชิมีส่วนแบ่งตลาด 4.6% ขยับจาก 4.2% เมื่อปลายปี โดยในไตรมาสแรกมิตซูบิชิทำได้ดีในตลาดรถยนต์นั่งสามารถรั้งอันดับที่ 3 มียอดขาย 4,954 คัน ลดลง 5.1%และครองส่วนแบ่งตลาด 7.6% รองจาก โตโยต้า(25.3%)และ ฮอนด้า(21.6%)

ในไตรมาสแรกยังมีรถยนต์จากจีนอีก 2 ยี่ห้อที่ติด 10 อันดับค่ายรถที่ครองตลาดมากที่สุดคือ เอ็มจี(MG) ซึ่งทำได้ดีจากความนิยมรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น MG4 และเกรทวอลล์(GWM) ที่มีปริมาณการขายรถยนต์ รุ่น Good Cat

สถิติการจดทะเบียนรถยนต์ในไตรมาสแรก 2567 รถที่มียอดจดทะเบียนสูงสุด 10 อันดับดังนี้


ที่มา:กรมขนส่งทางบก

มองไตรมาส 2 ทรุดต่อ
จากการประเมินภาพรวมของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ(GDP) โดย TTB ได้ประเมิน ภาพรวมของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เติบโต 2.6% ส่วน SCB EIC ประเมินGDP ของไทยจะขยายตัว เหลือ2.7% จาก 3% ซึ่งโดยภาวะปกติแล้ว ตลาดรถยนต์จะมีการเติบโตสอดคล้องกับGDP คือหาก GDP ขยายตัว 2.7 % ตลาดรถควรจะขยายตัวอย่างน้อย 2% ขึ้นไป อย่างไรก็ตามจากปัจจัยลบของเศรษฐกิจ น่าจะส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของตลาดที่ไม่เปลี่ยนแปลง คือ การชะลอตัวมากกว่า 20%

ปัจจัยสำคัญที่มีผล คือ การใช้จ่ายภาครัฐยังมีบทบาทได้ไม่เต็มที่ในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปี  เนื่องจากร่างงบประมาณ (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567) ยังไม่ได้รับการจ่าย แต่คาดว่าเมื่อถึงเวลาขั้นตอนต้องเบิกจ่ายงบประมาณจะเร่งตัวขึ้นมากในอัตราเร่งหลังร่างงบประมาณฯ ได้รับการอนุมัติให้มีผลบังคับใช้ (คาดว่าในเดือนพฤษภาคม)ดังเช่นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในปีงบประมาณก่อนหน้า(ตุลาคม2562 - กันยายน 2563) ส่วนโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะโครงการ Digital Wallet วงเงิน 5 แสนล้านบาทซึ่งยังคงมีความไม่แน่นอนว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่หากทำได้อาจจะมีผลในช่วงปลายปี

จับตาตลาดเปลี่ยนกดดันค่ายต่ำ 10
ตลาดรถไทยในช่วงรอยต่อการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี ทำให้เกิดภาวะตลาดที่มีผู้เล่นมากราย โดยค่ายรถหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาด ทำให้การแข่งขันเข้มขึ้นมากขึ้น โดยช่วงตลาดหดตัวลงทำให้เกิดสินค้าคงคลังของเจ้าตลาด ประกอบกับผู้เล่นรายใหม่ ต้องการเปิดตัวสินค้าตัวเอง ส่งผลให้เกิดการเพิ่มมาตรฐานด้านคุณภาพ และ "การลดราคา" เพื่อแข่งขันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการซื้อสินค้าของผู้บริโภค  ตลาดที่มีเค้กก้อนเล็กลงทำให้ ผู้บริโภคหันมานิยมแบรนด์ที่ตัวเองเชื่อมั่น ส่งผลให้แบรนด์หลักมียอดขายเพิ่ม เห็นได้ว่า 66 %ของตลาดอยู่ในมือรถยนต์เพียง 3ค่าย ในขณะที่อีกกว่า 40ค่าย เหลือเค้กให้แบ่งเพียง 34%และหากเป็นเช่นนี้ ค่ายรถที่ครองตลาดต่ำมากหรือน้อยกว่า  10% จะดำเนินธุรกิจได้ลำบากเพราะ ยอดขายน้อยเกินไป ดีลเลอร์ไม่สามารถทำกำไรพอเลี้ยงตัวเองได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจเห็นการลดขนาดธุรกิจของดีดเลอร์หรือการแสวงหาแบรนด์ใหม่ที่ทำกำไรเพื่อการอยู่รอด


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขหลักการทำงาน "หัวฉีด i-ART" กุญแจความประหยัด TOYOTA HILUX REVO

28 กุมภาพันธ์ 2568

EV ไทยในเงื้อมมือจีน: เมื่อแผนใหญ่ต้องเจอความเสี่ยงและความท้าทาย"

20 มกราคม 2568

ข่าวร้ายส่งท้ายปี รง.เนต้าไทย เลิกจ้าง" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกขาดอากาศหายใจ"

26 ธันวาคม 2567

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับ