EN / TH

Audi E5 Sportback รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่พัฒนาร่วมกับ SAIC

25 เมษายน 2568

GWM วางแผนตีตลาดกระบะฟูลไซส์ ท้าชนแบรนด์อเมริกา Chevrolet Ford RAM

25 เมษายน 2568

ZEEKR Group เปิดตัว ZEEKR 9X SUV ขุมพลังไฮบริดรุ่นแรกของแบรนด์

25 เมษายน 2568

Toyota เปิดตัว bZ7 ซีดานไฟฟ้าระดับเรือธง พัฒนาร่วมกับ GAC

24 เมษายน 2568

All-new Lexus ES เปิดตัวแล้ว มาพร้อมขุมพลังไฮบริดและไฟฟ้า!

24 เมษายน 2568

GAC Honda GT และ Dongfeng Honda GT รถยนต์ไฟฟ้าซีรีส์พิเศษสำหรับตลาดประเทศจีน

24 เมษายน 2568

เปิดตัว Nissan Frontier Pro รถกระบะปลั๊กอินไฮบริด เครื่องยนต์เบนซิน ช่วงล่างด้านหลังแบบ 5-Link

23 เมษายน 2568

Dongfeng Nissan N7 เปิดตัวที่งาน Auto Shanghai 2025 วิ่งได้ไกล 635 กิโลเมตร!

23 เมษายน 2568

เผยภาพภายใน Mazda EZ-60 มาพร้อมจอกลางขนาด 26 นิ้ว ความละเอียด 5K

22 เมษายน 2568

เนต้า ผู้อยู่ริมหน้าผา ใกล้กลับมาเกิดใหม่เพราะ .....?

19 เมษายน 2568

เผยสเปคและราคาในออสเตรเลีย KIA Tasman

18 เมษายน 2568

Honda Fit ไมเนอร์เชนจ์ในประเทศจีน กระจังหน้าเปลี่ยนใหม่หมด!

18 เมษายน 2568

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

รถชาวจีน ยุคสอบไม่ผ่านการออกแบบ

7 ธันวาคม 2566| จำนวนผู้เข้าชม 1,690

 

 

คนไทยนิยมรถยนต์จากจีนมากขึ้น เห็นได้จากยอดจองรถยนต์และผู้ชมในบูธรถยนต์ของชาวจีนที่งานหกรรมยานยนต์

 

ทุกๆปีสื่อยานยนต์อย่างผมและเพื่อน จะยุ่งหัวเกรียน อยู่กับวันเปิดงานโชว์รถรอบสื่อแม้หลังๆ จะมีสื่อมากหน้าหลายตา สื่อแปลกๆ ใหม่ๆ เข้าร่วมทำงานด้วยแต่บรรดาสายยานยนต์กับสายมอเตอร์ไซด์อันเป็นสื่อหลักนั้น ก็ทำงานกันจริงจังเต็มที่ ซึ่งแนวทางการทำงาน สื่อใหม่กับสื่อหลัก วิถีหลายอย่างก็ไปด้วยกันไม่ได้ ด้วยการ Disruption นี้เอง ทำให้สื่อหลักก็ต้องปรับตัวและทำงานด้วยวิถีใหม่

 

ปกติแล้วทุกปี ผมไปงานแสดงรถสำคัญนี้ในรอบสื่อเพื่อพบปะ ผู้คน ผู้บริหาร รับฟังแนวคิดใหม่ๆ หรือเบื้องหน้าเบื้องหลังการตลาด การวางแผนผลิตภัณฑ์ และมีพื้นที่และเวลาเพียงพอสำหรับผลิตเนื้อหา แต่ปี 2566 ไม่ได้ไปรอบสื่อ ผมไปรอบประชาชนทั่วไป ซึ่งกิจกรรมในวันสาธารณะนี้ แตกต่างไปจากรอบสื่อ ที่น่าสนใจคือผมไปสังเกตการณ์ ลานทดลองขับรถ  คนจองคิวแน่น แต่เฉพาะรถยนต์แบรนด์จีนนะครับ ส่วนรถแบรนด์อื่นส่วนใหญ่เป็นรถญี่ปุ่น ค่อนข้างบางตา มีบ้างรถเกาหลีอย่างฮุนได ที่มีรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ก็คึกคักพอสมควร และจากยอดจองรถที่รายงานกันตามสื่อหนาตา พอจะสรุปได้ว่า คนไทยเราไม่ติดกับรถจากจีนและเรารับรสนิยม ความชื่นชอบรถยนต์แบบชาวจีนไปเรียบร้อยแล้ว

 

ถ้าหากเราไม่มียานยนต์ไฟฟ้าในยุคนี้เราคงยังไม่รู้จักกับ "รถยนต์จากจีน" ที่แท้จริง และถ้าเทคโนโลยีไม่เกิดการ Disruption  เราคง ยังอยู่กับ "ฟอร์ม ฟอลโล ฟังก์ชั่น" อันเป็นคอนเซ็ปต์การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่แทรกอยู่ทุกส่วนของรถยนต์อีกต่อไป

 

บางคนอาจจะเถียงว่า ก็รถยนต์ไฟฟ้ามีแค่รถจีน  คนนิยมรถยนต์ไฟฟ้า ย่อมนิยมรถจีนไปด้วยเป็นธรรมดา ก็ถูกตามนั้นแต่อย่าลืมนะครับว่า "คนไทยรสนิยมสูง" รถยนต์ให้ลึกล้ำขนาดไหนแต่ถ้า หน้าตาไม่สวย ภายในไม่ดี อย่าหวังจะได้ไปวัดไปวา จริงๆแล้ว คนไทยถือว่า เป็นผู้บริโภคที่พัฒนาแล้วนะ เพราะมีประสบการณ์กับคุณภาพของรถมามาก เชื่อไหมว่า กระบะไทยดีที่สุดในโลก เพราะว่า ทำไม่ดี คนไทยไม่ซื้อไง

 

ขนาดยี่ห้อช้ำๆ แบรนด์ที่บาดเจ็บ มีบาดแผลลึกมาจากอดีต อย่างฟอร์ด ยังผงาดมาอยู่ที่ 3 ในตลาดกระบะ ด้วยเหตุผลคือ คุณภาพผลิตภัณฑ์มันได้ และที่ร่วงระนาวไปหรือว่าแจ้งเกิดไม่ได้ เพราะรถยังเป็นรอง ทั้งหมดนี้เลือกโดยผู้บริโภคที่มีคุณภาพอย่างชาวไทยของเรานี่ล่ะ

 

จากประสบการณ์วงการรถยนต์เมืองไทยเกิน 30 ปี "เมืองไทยถือเป็นตลาดปราบเซียน" ขนาดอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ยังต้องถอนตัว ถ้าพูดถึง บิ๊กทรี จีเอ็ม ฟอร์ด ไครสเลอร์ อย่างน้อย 2 ค่ายบิ๊กทรี ไครสเลอร์กับจีเอ็ม ก็บาดเจ็บเจียนตาย-ถอนตัวไปจากเมืองไทย ยุคอดีตรถอเมริกันพ่ายยับต่อรถญี่ปุ่นมาแล้ว ยุคนี้ญี่ปุ่นจะพ่ายต่อรถจีนหรือเปล่าน่าสนใจ เพราะถึงตอนนี้ต้องยอมรับว่า ลูกค้าหลายคนชื่นชอบในการออกแบบรถยนต์ของชาวจี

 

ย้อนไป 50 ปีที่แล้ว เป็นยุคที่จีนอยู่ในสภาพที่ยากจนไม่มีอุตสาหกรรมใดๆ 20 ปีให้หลังจีนก็ยังสอบไม่ผ่านเรื่องการออกแบบรถ แต่วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วผู้บริโภคคนไทยหันมาตามรสนิยม ความชื่นชอบในการออกแบบรถยนต์ของชาวจีน

 

วันที่ผมไปมอเตอร์โชว์ ได้ลองนั่ง BYD SEAL ผมรู้สึกและเข้าใจจีนดีเลยว่ารถจีน ตอบสนองโครงสร้างความต้องการของผู้โดยสารมากกว่ารถคู่แข่ง

 

ผมเดินทางไปจีนบ่อยๆ ช่วงที่จีนกำลังพัฒนารถยนต์ของตัวเองหรือเกือบ 20 ปีมาแล้วครับ  ปกติผมเดินทาง เยอรมัน ญี่ปุ่น เพราะศูนย์กลางการแสดงรถของโลก ในงานแฟรงเฟิร์ต ออโต้โชว์ ยุคนั้นอยู่ที่สองประเทศนี้ นักข่าวเจ้าถิ่นไม่ว่า อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศษ สื่อจากยุโรปดูมีออร่ามากที่สุด รองลงมาคือ นักข่าวญี่ปุ่น และนักข่าวอเมริกา ส่วนเรานักข่าวอาเซียน ไทย อินโด มาเล เป็นตัวติดสรอยห้อยตามเขาไป  เวทีแถลงข่าวระดับนานาชาติสื่อ ผมสังเกตว่าช่วงแรก ไม่มีนักข่าวสายยานยนต์จากจีนเลย แต่พอช่วงหลังๆ เริ่มมีนักข่าวจากจีนร่วมคณะบ่อยขึ้นและจากหนึ่งคน พัฒนาไปทำงานแยกกลุ่มเฉพาะสื่อจีนเลยทีเดียว จำได้ว่า ในการทดสอบรถของจีเอ็มที่ดูไบ มีนักข่าวจีนเยอะมาก แถมด้วยวัฒนธรรมแปลกๆที่นักข่าวอินเตอร์เขาไม่ทำกัน คือ การวางกระเป๋าจองรถทดสอบซึ่งก็เข้าใจได้ว่าจีน คนเยอะต้องแย่งชิงกัน

 

ครั้งหนึ่งในงานแฟรงเฟิร์ต ออโต้โชว์ ผมเห็นสื่อจีนเอาตลับเมตรไปวัดรถ บางคนก็วัดภายใน วัดล้อ วัดท่อไอเสีย นักทดสอบรถจีนนี่เขาละเอียดขนาดวัดกันเลยหรือ? และเขาก็ไม่กระดากอายหรือเกรงใจใครในการจะยืนวัดกันแบบโต้งๆ บนเวที สุดท้าย..หลายปีผ่านไปผมเข้าใจแล้วว่าทำไมนักข่าวจีนเขาวัดรถ คนเหล่านั้นมาในคราบสื่อเพื่อสะสมข้อมูลไปพัฒนารถยนต์ของเขา

 

ทุกวันนี้ นักข่าวสายยานยนต์ของจีน ออร่าเพียบเมื่อเทียบกับนักข่าวฝรั่ง โลกมันเปลี่ยนไปแฟรงเฟิร์ต ออโต้โชว์ งานโชว์รถเบอร์ 1 ของโลก ต้องลดขนาดลง ย้ายตัวเองไปที่มิวนิค ญี่ปุ่นต้องเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนแนวคิด ส่วนงานโชว์รถที่จีนเพิ่มจำนวนมาก เช่น ที่เชี่ยงไฮ  กวางโจว ปักกิ่ง เฉิงตู มีทั้งที่จัดงานทุกปีหรือแบบ 2 ปีครั้ง

 

ใครที่เคยสัมผัส Chery ในยุคที่ซีพีกับยนตรกิจ จับมือกัน นำรถเข้ามาขายในเมืองไทยครั้งนั้นสภาพการออกแบบและการผลิตของรถจีนแย่มาก ยนตรกิจจึงต้องเลิกขาย เพราะไม่ไหวจะทนกับคุณภาพ  คนจีนทำรถง่ายๆ ขอให้วิ่งได้ขนของได้เป็นพอ งานผลิตหยาบ  Chery ยุคนั้นฝาถังน้ำมันทำสีเฉพาะภายนอก อีกฝั่งหนึ่งปล่อยเปลือยมีสีผง เปื้อนเปอะ  ส่วนช่วงล่างก็ไม่มีการทดสอบ แค่ใส่โช้คอัพและระบบกันสะเทือนให้เห็นว่า รถมีโช้ค เท่านั้น พอมาเป็นรถจีนในวันนี้มีการพัฒนาลึกลงไป มีการสะท้อนให้เห็นถึงสุนทรียภาพ  ยังรวมถึงแง่มุมการใช้งานและวัฒนธรรมอีกด้วย การออกแบบยานยนต์ของจีน พื้นฐานนั้นภายในต้องกว้างขวาง คุณสมบัติที่หรูหรา และการออกแบบภายนอกที่โดดเด่น และจีนกล้าผสมผสานองค์ประกอบทางวัฒนธรรม สัญลักษณ์ และสุนทรียศาสตร์ที่สะท้อนถึงประวัติศาสตร์และประเพณีอันยาวนานของประเทศเข้าไปด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ รถที่พัฒนาแล้วอย่างค่ายญี่ปุ่นก็นิยมนำไปใช้ไม่ว่าจะเรียกชื่อรุ่นหรือคอนเซ็ปต์ ในการพัฒนาตามแบบญี่ปุ่น อย่างมาสด้า ใช้แนวคิดการออกแบบโคโดะ (KODO DESIGN)

 

ช่วงหลังเราทราบว่าการออกรูปทรงรถจีนได้รับอิทธิพลมาจาก อดีตนักออกแบบรถยนต์ชาวยุโรปที่..เกษียรแล้ว ซึ่งผลผลิตของรถที่มาจากนักออกแบบเหล่านั้นผมยังรู้สึกว่า มันคือ โมเดลที่มาก่อนกาลในยุคที่เขายังทำงานประจำ อย่างไรก็ตาม จีนแข็งแกร่งพอที่จะใส่สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตัวเอง เพื่อสร้างเอกลักษณ์อันเป็นคุณลักษณะเด่นๆ ออกมา เอกลักษณ์ที่สะท้อนถึงต้นกำเนิดของจีน อย่างชื่อแบรนด์เกรทวอลล์ เป็นแบรนด์ตัวอย่าง ในการกำหนดชื่อแบรนด์เป็นจีนแท้  ส่วน BYD คือ ตัวแทนผลผลิตของการผสานวัฒนธรรมจีนกับนานาชาติ

 

ในฐานะจีนนั้นผู้เล่นหลักในตลาดซอฟแวร์โลก มันมีผลต่อการออกแบบรถสมัยใหม่  การออกแบบยานยนต์ของจีนให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อ และเทคโนโลยี ระบบสาระบันเทิงขั้นสูง อินเทอร์เฟซ ที่มีนวัตกรรมใหม่ การออกแบบภายในของรถจีน เรียบง่าย เน้นระบบควบคุมแบบสัมผัส (touchscreen) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจการทำงานของวัตถุนั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติม

 

ถ้าหากเราไม่มียานยนต์ไฟฟ้าในยุคนี้เราคงยังไม่รู้จักกับ "รถยนต์จากจีน" ที่แท้จริง และถ้าเทคโนโลยีไม่เกิดการ Disruption  เราคงยังอยู่กับ "ฟอร์ม ฟอลโล ฟังก์ชั่น" หรือ การออกแบบรูปร่างของวัตถุให้สอดคล้องกับฟังก์ชันหรือการทำงาน อันเป็นคอนเซ็ปต์การออกแบบผลิตภัณฑ์เดิมๆ ที่แทรกอยู่ทุกส่วนของรถยนต์

 

แนวคิดใหม่ๆ จากจีนมีผลต่อการพัฒนา ทั้งในด้านดีไซน์, ประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ เราในฐานะผู้ใช้ จึงต้องเรียนรู้ "วิธีการขับขี่รถยนต์ยุคใหม่" รถยุคเก่า คุณใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการเข้าใจระบบทำงานพื้นฐานแต่ในยุคปัจจุบัน คุณอาจจะต้องใช้เวลา 4 ชั่วโมงเพื่อเรียนรู้ฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ ของรถ

 

ในฐานะที่ MassAutoCar ได้สัมผัสสิ่งเหล่านี้ก่อนผู้อ่าน ทีมงานของเรากำลังทำการบ้าน เพื่อตอบแทนแฟนๆ ด้วยกิจกรรมดีๆ ที่จะช่วยให้เรารู้จักวิธีขับรถยุคใหม่ในกิจกรรม ฉลองครบรอบ 8 ปี MassAutoCar พบกันเร็วๆ นี้

 

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขหลักการทำงาน "หัวฉีด i-ART" กุญแจความประหยัด TOYOTA HILUX REVO

28 กุมภาพันธ์ 2568

EV ไทยในเงื้อมมือจีน: เมื่อแผนใหญ่ต้องเจอความเสี่ยงและความท้าทาย"

20 มกราคม 2568

ข่าวร้ายส่งท้ายปี รง.เนต้าไทย เลิกจ้าง" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกขาดอากาศหายใจ"

26 ธันวาคม 2567

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับ