EN / TH

เปิดแผนละเอียด ฮอนด้า ยืนยันรถยนต์ไฟฟ้า คือ "อนาคต"

19 พฤษภาคม 2567

เมอร์เซเดส-เบนซ์ เลิกใช้คำนำหน้าการตั้งชื่อ EQ สำหรับ EV รุ่นต่อไป

18 พฤษภาคม 2567

เรเว่ ออโตโมทีฟ ขยายคลังอะไหล่BYD แห่งใหม่

17 พฤษภาคม 2567

มิตซูบิชิ"เปิดแผน"โมเมนตัม 2030" กลยุทธ์ 5 ปีดันรถยนต์ไฟฟ้าบุกตลาดอเมริกาเหนือ

17 พฤษภาคม 2567

ศึกชิงบัลลังก์รถกระบะไฟฟ้า: ฟอร์ด เอฟ-150 ไลท์นิ่งโค่นไซเบอร์ทรัค แต่ ริเวียน R1T ยังเกาะอันดับสาม

17 พฤษภาคม 2567

สงคราม EV ปะทุ ไบเดนเลือกขึ้นภาษีรถจีน ปักกิ่งโต้ปิดตลาด "ฆ่าตัวเอง" หากไม่ปรับตัว

16 พฤษภาคม 2567

MG พร้อมขับเคลื่อนรง.มูลค่า 3 หมื่นล้านหลังเปิดใช้งานครบทุกเฟส

14 พฤษภาคม 2567

เจาะลึกเอ็มพีวี พรีเมี่ยมMajesty (MY24) ยุค EURO 5 บวกราคาอีก 5%

13 พฤษภาคม 2567

สหรัฐฯ เตรียมเผยอัตราภาษีรถยนต์ EV สกัดรถจีนสัปดาห์หน้า

10 พฤษภาคม 2567

10 อันดับรถยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนเมษายน 2567 DEEPAL มาแรงจ่อแซง BYD

10 พฤษภาคม 2567

จับตาทัพใหญ่มิตซูบิชิ จับมือ ปตท ลุยตลาดEV

9 พฤษภาคม 2567

VinFast เล็งเปิดฟิลิปปินส์ ปลายพ.ค.2024

9 พฤษภาคม 2567

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

FORD RANGER กระบะที่เป็นโมเดลเปรียบเทียบของคู่แข่งทุกค่าย เพราะอะไร..?

12 มีนาคม 2566| จำนวนผู้เข้าชม 1,544

ขบวนการ POWER RANGERS ที่เราชอบดูตอนเด็กๆ เราจะจำกันได้ดีว่า แต่ละสีมีคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกันชัดเจน มียานพาหนะ มีหุ่นยนต์ มีท่าทางที่แตกต่างกัน แต่อยู่ในทีมเดียวกัน และก็จะมีตัวละครพิเศษออกมาสมทบตามจังหวะต่างๆ แต่ก็ต้องเป็นที่จดจำของคนดู FORD RANGER ในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็เช่นเดียวกัน แต่ละรุ่นมีความชัดเจน การตลาดตกผลึกว่าจะต้องทำรุ่นอะไรออกมาบ้าง ในอดีตรถกระบะอาจจะทำรุ่นพิเศษออกมาเพื่อกระตุ้นตลาดตามจังหวะ และมักไม่มี DNA ต่อยอดอะไรมากนัก นอกจากเอาแนวคิดมาขายลูกค้าให้รถโดดเด่นขึ้น แต่ FORD ตกผลึกทางความคิดก่อนใคร ด้วยการเริ่มพัฒนารุ่น WILDTRAK ในช่วงตัวถังรหัส T5 และมันก็มาประสบความสำเร็จในยุคของ T6

 

 

ทั้งคู่แข่งเจ้าตลาด และไม่ใช่เจ้าตลาดตั้งตัวไม่ทัน ทั้งที่ตัวเองเคยทำกระบะรุ่นที่โดดเด่นและพิเศษมามากมาย แต่มาตกม้าตายที่โดนฟอร์ดปาดหน้าสร้างความสำเร็จเป็นที่จดจำของกลุ่มลูกค้ามากกว่า จนค่ายต่างๆต้องกลายเป็นผู้ตามแม้ยอดขายจะเป็นผู้นำ จริงๆแล้วกระบะฟอร์ด ไม่ใช่แค่ขับสบาย แต่สิ่งที่ทำให้ฟอร์ดประสบความสำเร็จมากขึ้นในไทยและภูมิภาคอาเซียน คือแนวคิดทางการตลาดที่ตีโจทย์ไปพร้อมกับสร้างจุดเด่นให้ผลิตภัณฑ์ มีการว่างโปรดักส์ในแต่ละตลาดชัดเจน และมีการแบ่งรุ่นย่อยออกเป็นรุ่นหลักที่มีเอกลักษณ์ให้แตกต่างกัน เอาจริงๆค่ายอื่นก็ทำ แต่ฟอร์ดทำตั้งแต่ก่อนทำรถเจนฯใหม่ (New Generation) มันส่งผลให้การตกแต่งตัวรถในแต่ละเกรดมันความชัดเจน เนื้องานดี ไม่ใช่เหมือนเอาอะไรมาแปะมาประกบแล้วบอกว่านี่คือรุ่นใหม่ การตกแต่งตัวรถของฟอร์ดในแต่ละเกรดจึงมีความโดดเด่นชัดเจน ลูกค้าจดจำ แยกแยะได้ ส่วนที่เป็นอุปกรณ์ใช้งานก็ถูกคิด และใช้งานได้อย่างมีเหตุผล เหมาะสม และสร้างมูลค่าให้กับตัวรถ

 

ถ้าจะให้พูดแบบเห็นภาพชัด คุณก็ลองมองดูสปอร์ตบาร์ที่กระบะของ Ranger Wildtrak ลองดู Upfitter Switches ใน Ranger FX4 MAX, Ranger RAPTOR หรือแม้แต่บันไดข้างที่กระบะใน Ranger XLT มันเห็นชัดว่าการตกแต่งอุปกรณ์ต่างๆมันลงตัว คนเห็นแล้วจดจำ สร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้ เมื่อตัวรถมีจุดเด่นให้พูดถึง การประชาสัมพันธ์มันก็ง่ายตามไปด้วย

 

 

 

NEXT GEN RANGER รหัส T6.3 คือการสร้าง DNA ในแต่ละรุ่นย่อยให้ชัดเจนมากขึ้น และรู้สึกว่ามันจะไม่จบแค่นี้ (จำ key message นี้ไว้ครับ) เราได้เห็น RANGER PLATINAM ในออสเตรเลีย ที่เหนือขึ้นไปว่า RANGER WILDTRAK ครั้งนี้ ฟอร์ดวางไลน์โปรดักส์ชัดเจนขึ้น และมีการวางแผนไปอีกสเต็ป เป็นแผนก่อนที่ NEXTGEN จะเปิดตัว ฉะนั้นหมายความว่า ตลอดอายุตลาดของปิ๊กอัพรุ่นปัจจุบัน ฟอร์ดน่าจะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าทั่วโลกได้แถบทุกปี เราคาดว่า RANGER กับ EVEREST เวอร์ชั่นต่างๆจะทยอยเปิดตัวตามแผนงานที่ฟอร์ดวางไว้ 

 

 

สมรรถนะการขับขี่ อาการตัวรถ ระบบความปลอดภัย ตลอดถึงการดีไซน์ และผลลัพธ์ที่คนพูดถึงรถฟอร์ด ทำให้คู่แข่งต้องปรับตัว วาง FORD RANGER เป็นโมเดลเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าตลาด TOYOTA HILUX แม้ไทยจะยอดขายห่างกัน แต่ก็ขับเขี้ยวกันในหลายประเทศ ISUZU D-MAX เองก็ใส่ระบบความปลอดภัยมามากขึ้น และวางตำแหน่ง V-Cross หรือ X-Terrain ชน Wildtrak ทางด้าน MITSUBISHI TRITON กับ NISSAN NAVARA ก็มี ATHLETE กับ PRO-4X ปฏิเสธไม่ได้เลยครับว่า FORD RANGER คือโมเดลที่คู่แข่งจำเป็นต้องศึกษาเพื่อนำมาพัฒนารถของตัวเอง เพราะแม้ทุกค่ายจะมีจุดเด่นบางอย่างที่ฟอร์ดไม่มี แต่ทุกค่ายก็นิ่งนอนใจไม่ได้ ฟอร์ดเองยังคงมีปัญหาใหญ่คือความทนทานในการใช้งาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ฟอร์ดต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อไป มันก็น่าคิดครับ ถ้าทำได้อะไรจะเกิดขึ้น ฝั่งญี่ปุ่นเองก็มีจุดเด่นเรื่องความชัวร์ของโปรดักส์ ฉะนั้นถ้าจะบอกค่ายคู่แข่งของฟอร์ดทุกค่ายว่า เครื่องเกียร์นิ่งกว่าเขา ระบบนิ่งกว่าเขาในตอนนี้ การทำรถแข่งกับเขาเรื่องอื่นไม่น่าเป็นปัญหาใหญ่ นอกเสียจากปัญหาที่ว่า มันคือเรื่องกำไรกับต้นทุน และในอนาคตที่รถกระบะไฟฟ้ากำลังจะทำตลาด ทุกค่ายต่างใหม่ด้วยกันทั้งนั้น ปัญหาอาจจะพอพอกัน คุณภาพการขับกับสมรรถนะจะยิ่งเป็นเรื่องที่ทำให้ลูกค้าตัดสินเลือกซื้อกันมากขึ้น

 

บทความโดย ตระกูล ลินทมิตร

 


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567

MAZDA ก้าวข้ามอีวีด้วยพันธมิตรจีน

16 เมษายน 2567

เจาะลึกช่วงล่างเบื้องหลังความดุดันบนทุกเส้นทางของ Ford Ranger Raptor

1 มีนาคม 2567

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 3: ไม่แถมไม่แจก Scarcity Strategy กระบะ TFR ประสู่ยุคทอง

16 มกราคม 2567

อีซูซุ ซีรีย์ ตอนที่ 2: เมืองหลวงข้าใครอย่าแตะ

8 มกราคม 2567

อีซูซุ ซีรีย์: ตอน1 ก่อนจะมีวันที่ดีของตรีเพชรฯ

4 มกราคม 2567

สำรวจภาพไทยกับทุนใหม่ ในวันที่รถญี่ปุ่นอ่อนแรง

9 ธันวาคม 2566

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว+

ยอมรับ