EN / TH

Audi E5 Sportback รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่พัฒนาร่วมกับ SAIC

25 เมษายน 2568

GWM วางแผนตีตลาดกระบะฟูลไซส์ ท้าชนแบรนด์อเมริกา Chevrolet Ford RAM

25 เมษายน 2568

ZEEKR Group เปิดตัว ZEEKR 9X SUV ขุมพลังไฮบริดรุ่นแรกของแบรนด์

25 เมษายน 2568

Toyota เปิดตัว bZ7 ซีดานไฟฟ้าระดับเรือธง พัฒนาร่วมกับ GAC

24 เมษายน 2568

All-new Lexus ES เปิดตัวแล้ว มาพร้อมขุมพลังไฮบริดและไฟฟ้า!

24 เมษายน 2568

GAC Honda GT และ Dongfeng Honda GT รถยนต์ไฟฟ้าซีรีส์พิเศษสำหรับตลาดประเทศจีน

24 เมษายน 2568

เปิดตัว Nissan Frontier Pro รถกระบะปลั๊กอินไฮบริด เครื่องยนต์เบนซิน ช่วงล่างด้านหลังแบบ 5-Link

23 เมษายน 2568

Dongfeng Nissan N7 เปิดตัวที่งาน Auto Shanghai 2025 วิ่งได้ไกล 635 กิโลเมตร!

23 เมษายน 2568

เผยภาพภายใน Mazda EZ-60 มาพร้อมจอกลางขนาด 26 นิ้ว ความละเอียด 5K

22 เมษายน 2568

เนต้า ผู้อยู่ริมหน้าผา ใกล้กลับมาเกิดใหม่เพราะ .....?

19 เมษายน 2568

เผยสเปคและราคาในออสเตรเลีย KIA Tasman

18 เมษายน 2568

Honda Fit ไมเนอร์เชนจ์ในประเทศจีน กระจังหน้าเปลี่ยนใหม่หมด!

18 เมษายน 2568

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

อีซูซุ ซีรี่ส์ ตอน 4: จากเดี่ยวไดเร็คฯ สู่กระบะอีวี

28 เมษายน 2567| จำนวนผู้เข้าชม 1,762

 

ความสำเร็จของอีซูซุไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะอดีตนั้น อีซูซุยังไม่สามารถแข่งขันได้กับ โตโยต้า หรือนิสสัน ยอดขายที่น้อยกว่า ไม่ใช่ปัจจัยเรื่องของการตลาดหรือสินค้าแค่เป็นเรื่องความพร้อมในการผลิตเพราะ ขณะที่ตลาดมีความต้องการมาก แต่อีซูซูตัดสินใจขยายโรงงานช้า ข้อจำกัดทางด้านปริมาณการผลิตนี้เองทำให้ยุคแรกๆนี้เอง อีซูซุจึงต้องหันไปเล่นกลยุทธ์ "ไม่แถมไม่แจก" (Scarcity Strategy) อย่างที่เขียนไปเมื่อตอนที่แล้ว ในช่วงนั้นคนในบอกกับผมว่า หลังจากที่อีซูซุทำโรงงานเสร็จ อีซูซุจะเป็นแชมป์กระบะ นับจากมังกรทองมาเป็นรถระดับโลกด้วยการป้ายยาแฟนคลับ ด้วยรหัส I-190 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อดีแมคซ์ ในปี 2020 ผมไปย้อนหลังกลับไปพิจารณาดู แชมป์กระบะก็เป็นไปตามนั้น

 

การแข่งขันในตลาดยุคดั้งเดิมนั้น รถกระบะแข่งกันด้วยเรื่องเทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซลเป็นหลักเครื่องยนต์ดีเซลที่วางขายอยู่ แตกต่างกัน 2 ระบบเผาไหม้ คือมีเครื่องยนต์ดีเซลไดเร็คอินเจ็คชั่นหรือระบบเผาไหม้โดยตรงกับแบบจ่ายน้ำมันแบบอินไดเร็คอินเจ็คชั่น มีเพียงอีซูซุเจ้าเดียวที่ใช้ระบบเผาไหม้แบบฉีดตรงหรือไดเร็ค อินเจ็คชั่น ข้อดี-ข้อด้อยของเครื่องยนต์ดีเซล 2 ระบบนั้นชัดเจน การสร้างการยอมรับในเครื่องยนต์ดีเซลอย่าลืมว่า อีซูซุ คือผู้เปลี่ยนแปลงวงการ ด้วยการเป็นค่ายแรกที่เปลี่ยนเอาระบบดีเซลมาใช้แทนเบนซินจนค่ายอื่นๆใช้ดีเซลตามอีซูซุ เป็นเจ้าแรกที่นำระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง แบบไดเร็คอินเจ็คชั่นมาใช้ พร้อมทั้งโฆษณาว่าเป็นเจ้าแรกที่มีเครื่องยนต์แรงถึง 90 แรงม้า

 

อีซูซุ แบ่งปันเครื่องยนต์ดีเซลของตัวเองให้แก่ ฟอร์ด และมาสด้าในเมืองไทยด้วยทำให้ทั้งฟอร์ดและมาสด้ามีระบบจ่ายเชื้อเพลิงเช่นเดียวกับอีซูซุ ตลาดรถยนต์ปิกอัพในเมืองไทยยุคนั้นจึงแบ่งแยกกันชัดเจน โดยมีอีซูซุในฐานะต้นตำรับเครื่องยนต์แบบไดเร็คอินเจ็คชั่นเปิดประเด็นจุดเด่นด้านความประหยัดและกลายเป็นภาพจำจุดแข็งของอีซูซุต่อมา โดยตอกย้ำ ซ้ำแล้วซ้ำอีกด้วยกลยุทธ์การตลาด IMC

 

หลายคนแซะเครื่องยนต์แบบไดเร็ค อินเจ็คชั่นของอีซูซุว่า "เงียบพัง ดังวิ่ง" เพราะระบบเครื่องยนต์ดีเซลไดเร็คอินเจ็คชั่น หรือระบบเผาไหม้โดยตรง ข้อดีคือการประหยัดน้ำมันกำลังแรง แต่ด้อยคือ เสียงดัง มีการสั่นสะเทือนสูง และการปล่อยมลพิษก็สูงแต่อีซูซุก็ยึดมั่นในแนวทางของตัวเอง อย่าลืมว่า อีซูซุคือผู้เขียนประวัติศาสตร์ในปี 2521 ว่า อีซูซุเป็นค่ายรถแรกของไทย ที่แนะนำรถปิกอัพที่วางเครื่องยนต์ดีเซลโดยนำเอาเครื่องยนต์ดีเซล จากรถบรรทุก ELF ขนาดความจุ 1,600 ซีซี. ใส่ลงไปในรถปิกอัพ นับจากที่อีซูซุส่งรถที่ใช้เครื่องไดเร็คฯมาทำตลาดได้ไม่นานบวกกับการเพิ่มปริมาณการผลิตของโรงงาน อีซูซุก็ยึดยอดการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพในตลาดเมืองไทยไว้ได้

 

ทุกวันนี้ระบบการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลพัฒนาไปมากแต่โครงสร้างเครื่องยนต์ดีเซลของรถกระบะดีเซลทุกค่ายสุดท้ายมาจบที่ ดีเซลไดเร็คอินเจ็คชั่นแบบอีซูซุแม้จะมีการพัฒนาหัวฉีดแรงดันสูงพร้อมติดตั้งระบบอัดอากาศที่ก้าวหน้า

 

อีซูซุเป็นค่ายเดียวที่ยืนหยัดระบบนี้มาตลอดแสดงให้เห็นมุมมองของอีซูซุต่อความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่อ่านเกมไว้แล้วอย่างถูกต้องอย่างไรก็ตาม ดูเหมือนการพึ่งพาเครื่องยนต์ดีเซลกำลังมาถึงจุดเปลี่ยนด้วยรถยนต์ไฟฟ้า BEV เจ้าตลาดผู้เติบโตและสร้างความน่าเชื่อถือด้วยเครื่องยนต์ดีเซลมาตลอดชีวิตอย่างอีซูซุต้องหาทางรับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน และเป็นที่มาของการปรากฎตัวของอีซูซุ D-MAX EV รถกระบะไฟฟ้าต้นแบบคันแรกของของอีซูซุ ในงานบางกอกมอเตอร์โชว์ 2024

 

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขหลักการทำงาน "หัวฉีด i-ART" กุญแจความประหยัด TOYOTA HILUX REVO

28 กุมภาพันธ์ 2568

EV ไทยในเงื้อมมือจีน: เมื่อแผนใหญ่ต้องเจอความเสี่ยงและความท้าทาย"

20 มกราคม 2568

ข่าวร้ายส่งท้ายปี รง.เนต้าไทย เลิกจ้าง" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกขาดอากาศหายใจ"

26 ธันวาคม 2567

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับ