EN / TH

Audi E5 Sportback รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่พัฒนาร่วมกับ SAIC

25 เมษายน 2568

GWM วางแผนตีตลาดกระบะฟูลไซส์ ท้าชนแบรนด์อเมริกา Chevrolet Ford RAM

25 เมษายน 2568

ZEEKR Group เปิดตัว ZEEKR 9X SUV ขุมพลังไฮบริดรุ่นแรกของแบรนด์

25 เมษายน 2568

Toyota เปิดตัว bZ7 ซีดานไฟฟ้าระดับเรือธง พัฒนาร่วมกับ GAC

24 เมษายน 2568

All-new Lexus ES เปิดตัวแล้ว มาพร้อมขุมพลังไฮบริดและไฟฟ้า!

24 เมษายน 2568

GAC Honda GT และ Dongfeng Honda GT รถยนต์ไฟฟ้าซีรีส์พิเศษสำหรับตลาดประเทศจีน

24 เมษายน 2568

เปิดตัว Nissan Frontier Pro รถกระบะปลั๊กอินไฮบริด เครื่องยนต์เบนซิน ช่วงล่างด้านหลังแบบ 5-Link

23 เมษายน 2568

Dongfeng Nissan N7 เปิดตัวที่งาน Auto Shanghai 2025 วิ่งได้ไกล 635 กิโลเมตร!

23 เมษายน 2568

เผยภาพภายใน Mazda EZ-60 มาพร้อมจอกลางขนาด 26 นิ้ว ความละเอียด 5K

22 เมษายน 2568

เนต้า ผู้อยู่ริมหน้าผา ใกล้กลับมาเกิดใหม่เพราะ .....?

19 เมษายน 2568

เผยสเปคและราคาในออสเตรเลีย KIA Tasman

18 เมษายน 2568

Honda Fit ไมเนอร์เชนจ์ในประเทศจีน กระจังหน้าเปลี่ยนใหม่หมด!

18 เมษายน 2568

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

IMV - เมด บาย โตโยต้า ตอนที่ 3: อีซูซู - โตโยต้า..กว่าจะมาถึงวันนี้

28 พฤศจิกายน 2566| จำนวนผู้เข้าชม 1,829

 

ผมคงไม่เขียนถึงยุค IMV 2 หรือ รีโว่มากนัก เพราะว่าคงหาข่าวร่วมสมัยอ่านกันได้ แต่อยากพูดถึงบรรยากาศศึกรถกระบะยุคแรกๆ ก่อนมี IMV น่าจะอธิบายแนวการแข่งขันของ กระบะในอดีตกว่า "กว่าจะมาถึงวันนี้" เขาผ่านอะไรกันมาบ้าง

 

วงการรถกระบะของไทยนั้น น่าจะเกิดขึ้นราวปี พ.ศ. 2510 หรือมากกว่า 50 ปีมาแล้ว ยุคนั้นกระบะยี่ห้อ ดัทสัน (DATSAN) จำหน่ายโดยสยามกลการ นำเอารถกระบะมาจำหน่ายเป็นรายแรกของประเทศ และดัทสันก็ครองตลาด ตามมาด้วยกระบะโตโยต้า, มาสด้า ตามลำดับ โดยวงการรถกระบะใช้แต่เครื่องยนต์เบนซินอย่างเดียวไม่มีดีเซล ขนาดเครื่องยนต์ มีตั้งแต่ 1,000 cc แล้วขยับมาเป็น 1,300 cc โดยมีมาสด้าที่มีการขยายตลาดต่างไปกว่าคนอื่น คือมีขนาดเครื่องยนต์หลายขนาดให้เลือก เช่น 1,000 cc 1,100 cc และ 1,300 cc แล้วมาสด้า ก็เป็นผู้เริ่มใช้เครื่องเบนซินที่ใหญ่ขึ้นคือ 1,600 cc ในมาสด้ากระบะหน้าเก๋ง รุ่นโปรซีด (PROCEED) หรือ B1600

 

ต่อมาราวปี 2516 อีซูซุเข้ามา เปิดตลาดรถกระบะจากเดิมขายแต่รถบรรทุกใหญ่ อีซูซุ ใช้จุดเด่นของตนเองในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เครื่องยนต์ดีเซล นำเอาเครื่องยนต์ดีเซล 1,600 ซีซี. ที่ใช้กับรถยนต์บรรทุกขนาดเล็กรุ่น ELF มาใส่ลงไปในรถกระบะของตนเอง บวกกับขณะนั้นอีซูซุได้ผลิตรถยนต์ รถกระบะให้กับเชฟโรเลตด้วย จึงมีรถกระบะเครื่องยนต์ดีเซลของเชฟโรเลตรุ่น LUV ที่มีรูปลักษณ์เดียวกันกับอีซูซุออกมาจำหน่าย แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไร

 

ความสำเร็จของกระบะ มาถึงจุดเปลี่ยน เมื่อราคาน้ำมันเป็นตัวแปร สถานการณ์ราคาน้ำมันทวีความมรุนแรงขึ้น ผู้ผลิตรถยนต์รถกระบะยี่ห้ออื่นๆ เริ่มหันมาให้ความสนใจกับเครื่องดีเซล เพราะว่าประหยัดน้ำมัน ผู้นำตลาดในยุคนั้นอย่างดัทสัน มีการนำเอาเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1,600 ซีซี. ที่ใช้ในรุ่น CABALL มาวางในกระบะของตนเอง พร้อมโฆษณาถึงเทคโนโลยี "ควิกกรูว์" คือไม่ต้องเผาหัวก่อนติดเครื่อง เพราะในยุคนั้น เครื่องยนต์ดีเซล ก่อนติดเครื่องต้องเผาหัวก่อน ซึ่งกลยุทธ์ของดัทสัน ได้ผลดีมาก และถือเป็นยุคสุดท้ายที่ดัทสันได้ครองความเป็นเจ้าตลาดรถรถกระบะในเมืองไทย เพราะหลังจากนั้นยี่ห้ออื่นๆ ก็เร่งพัฒนาขึ้นมาเบียดตลาดดัทสัน โดยเฉพาะโตโยต้าที่คว้าแชมป์ไปครองหลายปี

 

ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อ อีซูซุที่มีความชำนาญเรื่องเครื่องยนต์ดีเซล เปลี่ยนระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง แบบอินไดเร็คอินเจ็คชั่น หรือสเวิร์ลแชมเบอร์ (swirl chamber) มาเป็นแบบไดเร็คอินเจ็คชั่น พร้อมทั้งเป็นเจ้าแรกที่มีเครื่องยนต์แรงถึง 90 แรงม้า ซึ่งนับจากนั้นมา อีซูซุก็ครองตลาดอันดับหนึ่งในการจำหน่ายของตลาดรถยนต์รถกระบะในเมืองไทยอย่างเบ็ดเสร็จมายาวนาน

 

มีอีซูซุยี่ห้อเดียวที่ยืนหยัดใช้เครื่องยนต์แบบไดเร็คอินเจ็คชั่น และชูจุดเด่นด้านความประหยัดมาเป็นจุดขาย ตอกย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดระยะเวลานานนับสิบปี ในขณะที่ยี่ห้ออื่นใช้เครื่องยนต์แบบอินไดเร็คอินเจ็คชั่น

 

ตลาดรถยนต์กระบะมีค่ายหลักๆ ทำตลาดอยู่ 7 ค่ายคือ อีซูซู โตโยต้า นิสสัน มิตซูบิชิ มาสด้า ฟอร์ด และเชฟโรเลต แต่ตลอดเวลาถูกยึดครองโดยอีซูซุ ยาวนานต่อเนื่อง ทำให้คู่แข่งอย่างโตโยต้า ต้องลุกขึ้นมาสู้ครั้งใหญ่ จนเป็นที่มาของ IMV Project อย่างที่เห็นกันอยู่นั้่นเอง

 

IMV-0 ถือเป็นโปรเจคลำดับ 3 แผนงานเบื้องหลังการพัฒนารถยนต์ที่ใช้คนไทยเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่า IMV อื่นๆ ลองดูครับการเปลี่ยนครั้งใหญ่โดยเฉพาะแพคเก็จจิ้งของ IMV-0 โตโยต้าจะสร้างเกมเชนจ์อีกครั้งได้หรือไม่..? กับกระบะรุ่นใหม่ที่มีชื่อทางการตลาดว่า "TOYOTA HILUX CHAMP"

 

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขหลักการทำงาน "หัวฉีด i-ART" กุญแจความประหยัด TOYOTA HILUX REVO

28 กุมภาพันธ์ 2568

EV ไทยในเงื้อมมือจีน: เมื่อแผนใหญ่ต้องเจอความเสี่ยงและความท้าทาย"

20 มกราคม 2568

ข่าวร้ายส่งท้ายปี รง.เนต้าไทย เลิกจ้าง" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกขาดอากาศหายใจ"

26 ธันวาคม 2567

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับ