EN / TH

Audi E5 Sportback รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่พัฒนาร่วมกับ SAIC

25 เมษายน 2568

GWM วางแผนตีตลาดกระบะฟูลไซส์ ท้าชนแบรนด์อเมริกา Chevrolet Ford RAM

25 เมษายน 2568

ZEEKR Group เปิดตัว ZEEKR 9X SUV ขุมพลังไฮบริดรุ่นแรกของแบรนด์

25 เมษายน 2568

Toyota เปิดตัว bZ7 ซีดานไฟฟ้าระดับเรือธง พัฒนาร่วมกับ GAC

24 เมษายน 2568

All-new Lexus ES เปิดตัวแล้ว มาพร้อมขุมพลังไฮบริดและไฟฟ้า!

24 เมษายน 2568

GAC Honda GT และ Dongfeng Honda GT รถยนต์ไฟฟ้าซีรีส์พิเศษสำหรับตลาดประเทศจีน

24 เมษายน 2568

เปิดตัว Nissan Frontier Pro รถกระบะปลั๊กอินไฮบริด เครื่องยนต์เบนซิน ช่วงล่างด้านหลังแบบ 5-Link

23 เมษายน 2568

Dongfeng Nissan N7 เปิดตัวที่งาน Auto Shanghai 2025 วิ่งได้ไกล 635 กิโลเมตร!

23 เมษายน 2568

เผยภาพภายใน Mazda EZ-60 มาพร้อมจอกลางขนาด 26 นิ้ว ความละเอียด 5K

22 เมษายน 2568

เนต้า ผู้อยู่ริมหน้าผา ใกล้กลับมาเกิดใหม่เพราะ .....?

19 เมษายน 2568

เผยสเปคและราคาในออสเตรเลีย KIA Tasman

18 เมษายน 2568

Honda Fit ไมเนอร์เชนจ์ในประเทศจีน กระจังหน้าเปลี่ยนใหม่หมด!

18 เมษายน 2568

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

รถ 5 ขอ (เศรษฐีมาครับ)

17 พฤศจิกายน 2566| จำนวนผู้เข้าชม 1,570

 

ผมเติบโตมากับรถยนต์ ยุค  5 ขอ ครับไม่ใช่คนยุคเก่า เพียงแต่เกิดก่อนมานานหน่อยเท่านั้น ยังมี คนเก่ากว่าผม ถ้าคุยกันเรื่องรถ ก็พูดถึงรถบรรทุกใหญ่ รถ6 ล้อรถ 10ล้อ เพราะรถเก๋งรถกระบะในตลาดยุคนั้นมีไม่กี่รุ่นรถเก๋งยี่ห้อฮอนด้า ยังไม่มาเลยเมืองไทย ปรมาจารย์ในวงการนักเขียน ปลดระวางไปเกิดใหม่กันหลายคนล่ะครับที่อยู่ดีมีแรง คุยกันอยู่ก็มี พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ ที่เติบโตมากับรถก่อนผมแกขับรถคันใหญ่ วิ่งซื้อข้าว ขนพืชไร่ไปทั่ว ทั้งใกล้และไกลตอนหลังมารู้จักกัน เลยรู้ว่าจากบ้านผมอุทัยฯ ไปแถว หางน้ำสาคร มโนรมย์ ชัยนาทบ้านลุงเดชมันไม่ได้ไกลอะไร 

 

คนรุ่นปัจจุบันคงไม่พูดถึงรถ 5ขอกันแล้ว คำว่าขอไม่ได้หมายความว่าไปขอใครเขากินนะครับ แต่เป็นเครื่องมือทำมาหากินของเถ้าแก่ยุคนั้น

 

ถ้าเถ้าแก่จะออกรถกระบะ ช่วงยาวสำหรับบรรทุกของ เขาจะนับความยาวของกระบะจากขอเกี่ยวของด้านข้างรถ ถ้าขอเกี่ยวมี 5 ตัวก็คือรถกระบะช่วงยาว ส่วน 4 ขอก็คือกระบะช่วงสั้น

 

กระบะทั้ง 2 ช่วง ยุคนั้นมีแต่แบบหัวเดี่ยว ไม่มีแคป เครื่องเสียงแอร์คอนดิชั่น ยันกระจกหูช้างเป็นออฟชั่นอยากได้ต้องจ่ายตังส์เพิ่ม รวมถึงเบาะนั่งหากซื้อปกติรถส่วนใหญ่เป็นเบาะแถวเดียวใครอยากได้เบาะแยกระหว่างคนขับขี่กับคนโดยสาร ต้องเพิ่มเงินอีก อย่างของโตโยต้ารุ่นไฮลักซ์ ฮีโร่ รหัส SR เริ่มทำรถกระบะแยกเบาะออกขายเป็นตัวแรก

 

ค่ายรถที่ทำเงินมากสุดยุคนั้นคือ นิสสัน เพราะว่ามีความแข็งแกร่ง โดยตัวแทนจำหน่ายคนไทย คือ สยามกลการ ยุคที่คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดชเป็นผู้นำ มีศิริชัย สายพัฒนา ซึ่งเป็นมือปืนรับจ้างย้ายจากโตโยต้า มาอยู่สยามกลการเพื่อทำตลาด รองลงมาได้แก่มิตซูบิชิ โตโยต้า อีซูซู และมาสด้า ฟอร์ด

 

ในยุค 40 ปีที่แล้วแบรนด์กระบะแต่ล่ะแบรนด์แบ่งตำแหน่งกันชัดเจน

นิสสัน รถบรรทุกของเถ้าแก่ อึดทน ช่วงล่างดี คนทำการค้าชอบอานิสงส์ของภาพพจน์นี้ส่งผลยาวมาถึงทุกวันนี้แต่ตอนหลังญี่ปุ่นกับฝรั่งมาบริหารเองทำพังหมด กระบะนิสสันแทบไม่มีที่ยืนในตลาด

 

มิตซูบิชิ หนึ่งในรถกระบะที่มีอิทธิพลต่อตลาด เครื่องแรง ช่วงล่างดี อึดงานบรรทุกเป็นรองนิสสันอยู่เล็กน้อย มิตซูฯมีแฟนเป็นคนรุ่นใหม่ เก็บสายชิ่งได้พอสมควรเหมือน กับที่ อีซูซุจุติในวงการเรซซิ่ง ทุกวันนี้

 

โตโยต้า รถข้าราชการ คนมีระดับหน่อย คนมีการศึกษาใช้กัน แต่รถขายได้น้อย รถมีออฟชั่นทันสมัยมากมายแต่ช่วงล่างกับเบรกแย่ ร่วงถนนบ่อย โตโยต้า ปรับปรุงมาตลอด ปรับแต่ละอย่างช้ามากคู่แข่งไปไกลแล้ว อย่างไรก็ตามโตโยโต้มาฮึดเอาตอนที่ อีซูซุขยายกำลังการผลิตจนทำให้โตโยต้า สร้างตำนานการเปลี่ยนวงการรถยนต์กระบะในบ้านเราได้สำเร็จ

 

อีซูซุ มีภาพพจน์เป็นรถของชาวนา เกษตรกร เครื่องดังเจ็ดบ้านแปดบ้าน แต่ประหยัดน้ำมัน บริการดี ยอดขายทำได้ไม่มากเพราะอีซูซุยุคนั้นติดปัญหาเรื่องการพัฒนารถช้า และกำลังการผลิตน้อย และก็ยังไม่มีพี่หมู ปนัดดามือตลาดที่มาดันยอดอีซูซุจนเป็นแชมป์ติดต่อกันหลายปีเหมือนปัจจุบัน

 

มาสด้า รถแกร่งอีกคันคนรู้จักวางใจเรื่องความแรง ช่วงล่างดี มาสด้ากับฟอร์ด ในยุคนั้นเป็นรถตัวเดียวกันต่างกันแค่โลโก้ เพราะเป็นบริษัทในเครือ แต่ดูเหมือนมาสด้าจะได้ใจคนใช้รถมากกว่าฟอร์ด คนกลัวฟอร์ดเรื่องเซอร์วิส ความเป็นรถฝรั่ง  ซึ่งมันก็เป็นปม ส่งผลมาถึงวันนี้กับการรับรู้เรื่องฟอร์ด

 

การขายรถในอดีตไม่ใช่มีแค่ โปรดักซ์ คือ ตัวรถอย่างเดียวจะขายได้ คนขายยุคอดีตต้องถือสูตร 3S ไว้เพื่อสร้าง 3S ให้สำเร็จก่อน ถึงจะขายรถ 3S ที่ว่าคือ

S -โชว์รูม

S-เซอร์วิส

S-สแปร์ พาร์ท (Spare Part)

 

S -โชว์รูม มีความสำคัญเพราะ อดีตการเดินขึ้นไปยังโชว์รูมเพื่อซื้อรถยนต์ของคนยุคนั้นถือว่า เป็นเกียรติยศศักดิ์ศรีของวงตระกูล คือ คนมีตังส์ขึ้นโชว์รูมถอยรถป้ายแดง "คุณคือเศรษฐีของหมู่บ้าน"    หากสมาร์ทโฟนมาทัน โชว์รูมรถยนต์ ต้องเป็นโลเคชั่นยอดนิยมในการโชว์รวยแน่นอน โชว์รูม บอกสถานะทางสังคมของเจ้าของในพื้นที่นั้นๆอีกด้วย แถมยังบอก ความมั่นคงของยี่ห้อนั้นๆ ในตลาดได้เป็นอย่างดี ดังนั้น สายสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับเถ้าแก่ขายรถ มีความแนบแน่น คหบดีคบคหบดี คหบดีคบชาวนา-พ่อค้า ผ่านโชว์รูมนี่เอง

 

S-เซอร์วิส เรื่องนี้โกรธกันได้เลยถ้าเถ้าแก่ขายรถแล้วไม่มีบริการ ลูกค้าในสมัยก่อนหาช่างทำรถยากไม่มีธุรกิจอู่แม้แต่ร้านยางก็ยังหาทำยาก ไม่ต้องพูดถึงอู่มาตรฐานอย่าง เอ็มเอ็มเอสบอสส์ หรือ บีควิ๊ก แมคซ์ พวกนี้เกิดทีหลัง

 

S-สแปร์ พาร์ท หรืออะไหล่ เรื่องราวของอะไหล่เป็นหนึ่งในปัจจัยชี้เป็นชี้ตายของรถยี่ห้อนั้นๆ หากว่ามีภาพพจน์ที่ไม่ดีแล้วรถแทบขายไม่ได้ เชื่อไหมว่า มิตซูบิชิเป็นรถที่มีภาพพจน์อะไหล่แพงซึ่งความจริงเป็นอย่างไรไม่รู้แต่มิตซูบิชิแก้ไขเรื่องนี้ตั้งแต่สมัยแบรนด์อยู่ในมือของตระกูลพรรณเชษฐ์ คนทำการตลาดอะไหล่ อย่าง "ปกครอง ทองรักษ์หรือพี่นก แก้ไขไว้หมดแล้วตั้งแต่อดีตวันนี้ภาพเก่าๆยังหลอนมิตซูบิชิอยู่เลย

 

ตรงกันข้ามอดีตเมอร์เซเดส-เบนซ์ มีภาพพจน์เรื่องอะไหล่หาง่าย ราคาถูกกว่า บีเอ็มดับเบิลยูที่อะไหล่แพง หายาก มาวันนี้ต้องบอกทั้งหมดเปลี่ยนไปแล้ว อะไหล่สองยี่ห้อนี้ราคาสูงทั้งคู่ครับ จะให้รถยนต์ราคา4-5ล้านราคาอะไหล่ เท่าโคโรล่าเหมือนในอดีตมันคงเป็นไปไม่ได้ แต่เชื่อไหมคนปัจจุบันยังเชื่ออยู่เลยว่า อะไหล่เมอร์เซเดสฯ หาง่าย ราคาถูก

 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผมเล่ามานี้ มันคงไม่สำคัญสำหรับผู้คนที่ซื้อรถยุคปัจจุบัน เพราะโชว์รูมเหล่านี้ อยู่ในโลกออนไลน์ เป็นโชว์รูมเสมือนจริง ไม่ต้องมีตึกต้นทุนสูงๆ เช่าห้างไว้แค่โชว์รถสองแห่งพอ ไม่ต้องสร้างกราดไป 78 จังหวัดเหมือนอดีต อะไหล่ไม่ต้องสต็อก โชว์ว่ามีของพร้อมส่งแค่ในโกดังเดียว คนซื้อก็ไม่กังวลแล้ว งานเซอร์วิส สัดส่วนประชากรต่อช่องบริการเท่าไรไม่ต้องสนใจไม่ต้องรู้ เสียเมื่อไรก็แวะมา

 

ค่ายใหม่ๆ เขาไม่ลงทุนมากมาย ไม่มี 3S  "เขาก็ขายได้เพราะเรากล้าซื้อ ก็เท่านั้นเอง"

 

บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี

 

 

 


แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขหลักการทำงาน "หัวฉีด i-ART" กุญแจความประหยัด TOYOTA HILUX REVO

28 กุมภาพันธ์ 2568

EV ไทยในเงื้อมมือจีน: เมื่อแผนใหญ่ต้องเจอความเสี่ยงและความท้าทาย"

20 มกราคม 2568

ข่าวร้ายส่งท้ายปี รง.เนต้าไทย เลิกจ้าง" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกขาดอากาศหายใจ"

26 ธันวาคม 2567

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับ