
การที่มีการสนับสนุนราคาเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่มีผู้ประกอบการรถยนต์จากประเทศจีนได้รับผลดีจากเรื่องนี้ เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดสภาพตลาดที่มีการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม ซึ่งเรามาดูกันมา จะส่งผลกระทบอย่างไร ต่อตลาดรถยนต์ไทย และในตลาดระดับโลก
อีวี 3.0 คือ การเริ่มต้นการสนับสนุนผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรา ในช่วงแรกสถานการณ์นั้น ยังไม่มีเสียงสะท้อนจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะรถยนต์ฝั่งญี่ปุ่นที่ไม่มีรถยนต์ไฟฟ้าแต่ยังครอบครองตลาดไทยไว้มากกว่า 80% ด้วยเหตุที่ว่า บรรดารถยนต์หน้าใหม่ที่เข้ารับเงิน อีวี 3.0 แทบจะไม่มีความพร้อมใดๆ ในการขายรถเอาเสียเลย
แต่พอรัฐบาลเคาะอีวี 3.5 ออกมา รถยนต์จากจีนก็แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็วและเข้มแข็ง รถจีนตีตลาดในระยะเวลาสั้นๆ ด้วยการกำเงิน 1.5แสนบาทไว้ล่อใจลูกค้าและส่ง โปรโมชั่นทับลงไป เจ้าตลาดอย่างโตโยต้า ฮอนด้า นิสสันหรือหน้าใหม่ที่เคยมาแรงอย่าง มาสด้าและซูซูกิ เริ่มได้รับผลกระทบ
“หากไม่ลด 1แสนหรือ 1.5แสนยอดแทบไม่เดิน”
แม้ว่า ค่ายจีนและญี่ปุ่นนั้นขายรถต่างชนิดกันด้วย เทคโนโลยีBEV กับ ICE แต่ราคาที่ลดลง 1.5แสนก็ทำให้ลูกค้าตัดสินใจกับ BEV ทิ้งข้อจำกัดในการใช้งาน ราคาขายต่อ คุณภาพความคงทนและความปลอดภัยในระยะยาว”ไปเสี่ยงเอาข้างหน้า”หนีค่าน้ำมันเชื้อเพลิงแสนแพงให้ได้
“สภาพตลาดเวลานี้ คือตลาดที่การแข่งขันไม่เท่าเทียม” รถจีนลดราคา 1.5แสนรัฐบาลจ่ายให้ แต่รถอื่น ถ้าไม่ควักกระเป๋าเติม 1.5แสน ลูกค้าแทบไม่มอง” แหล่งข่าวสะท้อน
“บรรดาผู้ประกอบการรถยนต์ญี่ปุ่น ไม่เคยเกิดภาวะกดดันจากการแข่งขัน ขณะอยู่ในตลาดไทยมากมายเช่นนี้มาก่อน”
การส่งเสริมด้านราคา มีโอกาสที่รถยนต์ประเทศจีนจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว สำหรับรถยนต์จีนที่ได้รับการสนับสนุน ซึ่งรัฐบาลไทยหวังเสริมสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานใหม่ นอกจากการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมรถยนต์จากนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีแต่เครื่องยนต์ICE ถามว่ามีโอกาสไหมที่ทุนจีนจะเสริมสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยได้เท่ากับฝั่งญี่ปุ่น ที่พัฒนาเทคโนโลยีและการผลิตเชิงลึกในไทยมาเป็นเวลานาน
คำตอบถือ ไทยมีความเสี่ยงมากเนื่องจากแม้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีหรือถ่ายทอดให้ไทย แต่รถยนต์BEV พึ่งพาแรงงานน้อยมากในการผลิต ซึ่งการนำเข้าเทคโนโลยีที่ซับซ้อนถูกจัดทำมาในรูปแบบโมดูลด้วยข้อจำกัดในการผลิต และด้วยชิ้นส่วนของรถยนต์BEV ไม่ต้องการชิ้นส่วนจำนวนมากเหมือนรถยนต์ICE ดังนั้น หากจะรับมูลค่าเพิ่มจากภาคโรงงาน แทบไม่เหลือมูลค่าอะไรไว้ให้แรงงานไทยได้กินได้ใช้
มาตรการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเคยเกิดขึ้นในประเทศจีน และทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในการแข่งขันระหว่างรถยนต์จีนและรถยนต์ต่างชาติ ซึ่งคล้ายปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในไทยแต่ในจีนได้ยุติมาตรการส่งเสริมไปแล้ว ซึ่ง การสนับสนุนเฉพาะทางในไทย ทำให้รถยนต์จีน ได้เปรียบในตลาดอีกครั้ง
ไทยมีการส่งออกรถยนต์ปีล่ะมากกว่า 1ล้านคันไปยังตลาดต่างประเทศซึ่ง ผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องเผชิญกับต้นทุน ที่เพิ่มขึ้น จากจำนวนการขายที่ลดลงและต้องเติมอีก1.5แสนต่อคันเพื่อทำการปิดการขายซึ่งหมายถึงระยะยาวหากไม่ปรับตัว สำเสนอเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็อาจเหลือที่ยืนไม่มากนัก
เวที มหกรรมยานยนต์ที่เมืองทองธานีที่เป็นเหมือนเวทีกระตุ้นการซื้อรถยนต์ในช่วงฤดูการขายทุกๆปลายปีอาจจะไม่ใช่เวทีที่หอมหวานสำหรับรถญี่ปุ่นและรถยนต์แบรนด์อื่นๆ ที่ไม่ได้รับส่วนลด 1แสนบาทจากมาตรการกระตุ้นการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาล วันเปิดงาน เราจะไปยืนข้างเวที ดูว่า ญี่ปุ่นสู้อย่างไรในวันที่ ตลาดแข่งขันไม่เป็นธรรม อย่าลืม ติดตามเรา...
บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี