EN / TH

Audi E5 Sportback รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่พัฒนาร่วมกับ SAIC

25 เมษายน 2568

GWM วางแผนตีตลาดกระบะฟูลไซส์ ท้าชนแบรนด์อเมริกา Chevrolet Ford RAM

25 เมษายน 2568

ZEEKR Group เปิดตัว ZEEKR 9X SUV ขุมพลังไฮบริดรุ่นแรกของแบรนด์

25 เมษายน 2568

Toyota เปิดตัว bZ7 ซีดานไฟฟ้าระดับเรือธง พัฒนาร่วมกับ GAC

24 เมษายน 2568

All-new Lexus ES เปิดตัวแล้ว มาพร้อมขุมพลังไฮบริดและไฟฟ้า!

24 เมษายน 2568

GAC Honda GT และ Dongfeng Honda GT รถยนต์ไฟฟ้าซีรีส์พิเศษสำหรับตลาดประเทศจีน

24 เมษายน 2568

เปิดตัว Nissan Frontier Pro รถกระบะปลั๊กอินไฮบริด เครื่องยนต์เบนซิน ช่วงล่างด้านหลังแบบ 5-Link

23 เมษายน 2568

Dongfeng Nissan N7 เปิดตัวที่งาน Auto Shanghai 2025 วิ่งได้ไกล 635 กิโลเมตร!

23 เมษายน 2568

เผยภาพภายใน Mazda EZ-60 มาพร้อมจอกลางขนาด 26 นิ้ว ความละเอียด 5K

22 เมษายน 2568

เนต้า ผู้อยู่ริมหน้าผา ใกล้กลับมาเกิดใหม่เพราะ .....?

19 เมษายน 2568

เผยสเปคและราคาในออสเตรเลีย KIA Tasman

18 เมษายน 2568

Honda Fit ไมเนอร์เชนจ์ในประเทศจีน กระจังหน้าเปลี่ยนใหม่หมด!

18 เมษายน 2568

ไม่พบข้อมูล

กลับไปหน้า บทความ

IMV - เมด บาย โตโยต้า ตอนที่ 1: 20 ปีของเกมเชนจ์ โครงการเทหน้าตักที่พลิกฝ่ามือในไทย

25 พฤศจิกายน 2566| จำนวนผู้เข้าชม 2,974

 
 
ในช่วงที่โครงการไอเอ็มวี ซีโร่ (IMV-0) กำลังจะได้รับการแนะนำ ผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดเมืองไทยนั้น ผมขอเล่าเรื่อง ไอเอ็มวีในอดีตฝากไว้เชื่อมโยง เพราะเรื่องราวเหล่านี้มีที่มาที่ไป ซึ่งจะทำให้แฟนผู้อ่าน "MassAutoCar" ได้เข้าใจสิ่งที่โตโยต้า กำลังทำ
 
เดือนเม.ย.  ปี 2546 หรือย้อนหลังไป 20 ปีพอดี โตโยต้า มอเตอร์ (TMC) และโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย (TMT) ได้จารึกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่น สิ่งนี้คือการเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์ และรถยนต์ประเทศญี่ปุ่นตลอดไป ช่วงนั้นผมยังทำงานเป็นหัวหน้าข่าวยานยนต์ ให้กับกรุงเทพธุรกิจพอดี
 
TMC ประกาศพัฒนาโครงการพัฒนารถยนต์  ชื่อ Innovative International MultiPurpose Vehicle (IMV) แต่ทุกอย่างยังไม่ได้รับการเปิดเผย เรารู้แต่ว่า เป็นการพัฒนารถกระบะรุ่นใหม่เพื่อมาแทน โตโยต้า ไทเกอร์ ซึ่งฟาดปากกับอีซูซู กันฝุ่นกลัดและทำท่าว่า อีซูซุจะดูดีกว่า เมื่อดูจากยอดขาย
 
แต่พอ TMT เปิดตัวโครงการ IMV แล้ว นี่มันยิ่งใหญ่กว่าที่คิดไม่ใช่แค่ออกกระบะใหม่คันหนึ่งมาสู่อีซูซุ แต่ IMV เป็นโครงการที่มีผลกระทบใหญ่ต่อวงการยานยนต์โลก เพราะภายใต้แนวคิดหลัก ผลิตภัณฑ์ในโครงการ IMV  มีกระบะไฮลักซ์ วีโก้ 3 แบบตัวถัง คือ สแตนดาร์ด แค็บ, เอ็กซ์ตรา แค็บ, และดับเบิล แค็บ หลังจากนั้นในเดือนกันยายน 2546  โตโยต้า เปิดตัวมินิ แวน  คิจัง (อินโนวา) ในอินโดนีเซีย และในเดือนพฤศจิกายน 2546 โตโยต้าได้แนะนำรถยนต์ PPV รุ่นฟอร์จูนเนอร์ในตลาดเมืองไทย รวมโครงการนี้มีรถออกมา ทั้งหมด 5 โมเดล เรียกว่า IMV1-5
  
โจทย์ที่ ท้าทายและซับซ้อนพอสมควรในเชิงวิศวกรรม คือ แพลตฟอร์ม IMV ที่วิศวกรของโตโยต้าจะออกแบบนั้นต้อง ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกว่า 140 ประเทศ ทั้งในเอเชีย ยุโรป แอฟริกา โอเชียเนีย อเมริกากลางและใต้ และตะวันออกกลางได้  เรียกว่า แพลตฟอร์มเดียวขายทั่วโลกและ ต้องสามารถใช้งาน ด้วยรูปแบบยานพาหนะ 3 แบบ คือ รถบรรทุก 1 ตัน  รถมินิแวน และรถอเนกประสงค์
  
แต่ด้วยความรู้ความชำนาญในการผลิต เทคโนโลยีการผลิต และเทคโนโลยีการวางแผนการผลิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ที่เริ่มสายพานเป็นต้นมา โตโยต้า IMV ได้รับการยอมรับอย่างมากในประเทศไทย อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา แอฟริกาใต้ และตลาดทั่วโลกส่งผลให้โตโยต้าสามารถทำกำไรจากการลดต้นทุนการออกแบบและการผลิต การที่ IMV เป็นรถยนต์คันแรกที่โตโยต้า ผลิตในต่างประเทศโดยไม่ได้ผลิตในญี่ปุ่นมาก่อน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาภาคการผลิตแบบกระจายอำนาจของโตโยต้า ไปยังภูมิภาคต่างๆ
 
ที่ว่า-ประวัติศาสตร์ใหม่ของรถยนต์ญี่ปุ่น เพราะว่า IMV คือกิจกรรมการผลิตที่เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ของญี่ปุ่น คลื่นลูกที่ 3 นับจากยุคแรก ที่อุตสาหกรรมรถญี่ปุ่นเริ่มต้น ซึ่งสภาพเวลานั้นคือ การผลิต การวิจัย ทำในญี่ปุ่น 100% และส่งรถจากโรงงานญี่ปุ่นออกไปขาย ส่วนคลื่นลูกที่ 2 ของพัฒนาการ เกิดขึ้นเมื่อญี่ปุ่น เข้าไปตั้งโรงงานผลิตในต่างประเทศ โดยเน้นประเทศที่เป็นตลาดหลัก มีการประกอบ การขาย และการส่งออกแบบจำกัดพื้นที่งานออกแบบ รถต้นแบบยังคงไว้ในญี่ปุ่น
 
การตั้งโรงงานในคีย์มาร์เก็ต ตัวอย่างคือ การเคลื่อนทุนของโตโยต้า ที่เข้ามาตั้งโรงงานที่สำโรง ซึ่งถือว่าเป็นโรงงานแห่งแรกของโตโยต้าที่มีการผลิตทำนอกญี่ปุ่น แต่ยังมีงานวิจัยการพัฒนารถต้นแบบยังทำในญี่ปุ่น ซึ่งระยะเวลาของคลื่นลูกที่ 2 นั้นกินเวลาถึง 40 ปี จากนั้นก็เข้าสู่ คลื่นที่สาม คือ การสร้างรถ การผลิต การวิจัย ทั้งผลิตภัณฑ์ และวิจัยตลาดไม่ทำในญี่ปุ่น แต่กิจกรรมเหล่านี้ใช้ฐานผลิตรถนอกญี่ปุ่น 100%  ยุคที่สาม คือ การย้ายหัวใจของการสร้างรถไม่ว่า การทำรถโปรโตไทร์ รถต้นแบบ การทดสอบล้วนทำนอกญี่ปุ่น และเมืองไทยก็เป็นประเทศที่ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ นี้ไว้
 
ยุคที่สามมีความเฉพาะตัว นั่นคือ การทำการผลิตนอกญี่ปุ่นทั้งหมด และรถนั้นมีเป้าหมายป้อนออกสู่ตลาดทั่วโลก เป็นผลิตภัณฑ์คลาสระดับ"เวิลด์ คาร์ "ที่จำหน่ายในชื่อโมเดลเดียวกันทั่วโลก ความท้าทายคือ รถดังกล่าวต้องได้คุณภาพเหมือนกับรถที่ทำจากญี่ปุ่น ตามแนวทางนี้โตโยต้า ใช้การสื่อสารว่า "เมด บาย โตโยต้า" ซึ่งรถในโครงการไอเอ็มวีถูกส่งออกไปขาย 140 ประเทศทั่วโลก จะยกเว้นเสียแต่ตลาดที่ไม่มีความต้องการ อย่างเช่น อเมริกา และญี่ปุ่น
 
 การเกิดของยุคการผลิตที่สามของโตโยต้า ถือเป็นการเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของอุตสาหกรรมรถยนต์ญี่ปุ่น เพราะว่าโครงเครือข่ายการผลิตแบบไม่พึ่งพาฐานในญี่ปุ่น แต่หันมาสร้าง พึ่งพาเครือข่าย ซัพพลายชิ้นส่วน จากท้องถิ่น เข้าใจว่า ในช่วงเวลานั้นค่ายนิสสัน มอเตอร์ ก็เริ่มแผนการผลิตแบบเดียวกันนี้ในโครงการฐานรถกระบะในไทยเหมือนกัน ลักษณะนี้ต่างไปจากการย้ายฐานการผลิตของรถกระบะมิตซูบิชิ มอเตอร์ มาไทยเมื่อหลายปีก่อนหน้า  เพราะว่ามิตซูบิชิยังทำงานการพัฒนารถโดยใช้ฐานในญี่ปุ่นเป็นหลัก และรถก็มิได้เป็นรถที่เปิดตัวรุ่นใหม่ครั้งแรกในโลก เครือข่ายการผลิตของมิตซูบิชิ ก็ไม่มีลักษณะแบ่งการผลิตเหมือนโตโยต้า
 
 แม้ว่า IMV นั้นดูเหมือนจะพัฒนามาเพื่อตอบสนองการแข่งขันในตลาดไทยเป็นหลักเพราะไทยเป็นตลาดใหญ่ หากเทียบกระบะ 1 ตันแล้ว ขนาดตลาดกระบะของไทยใหญ่เป็นลำดับ 1 ของโลก แต่ถ้าเทียบกระบะทุกไซด์แล้ว ไทยเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐ แน่นอนว่าโตโยต้าในไทยมีการแข่งขันกับคู่แข่งหลักเพียงยี่ห้อเดียวคือ อีซูซุ สภาพตลาดและการแข่งขันก่อนมีโครงการ IMV นี้น่าสนใจตรงที่....โตโยต้าไม่สามารถเอาชนะอีซูซูได้เลย IMV จึงเป็นการเทหน้าตักครั้งใหญ่ของโตโยต้า ตามเป้าหมาย "ทริปเปิล แชมป์"
 
 บทความโดย: ยุทธพงษ์ ภาษี
 
 
 
ตอนที่ 3: IMV - เมด บาย โตโยต้า: อีซูซู - โตโยต้า..กว่าจะมาถึงวันนี้

แชร์บทความนี้


ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขหลักการทำงาน "หัวฉีด i-ART" กุญแจความประหยัด TOYOTA HILUX REVO

28 กุมภาพันธ์ 2568

EV ไทยในเงื้อมมือจีน: เมื่อแผนใหญ่ต้องเจอความเสี่ยงและความท้าทาย"

20 มกราคม 2568

ข่าวร้ายส่งท้ายปี รง.เนต้าไทย เลิกจ้าง" เมื่อบริษัทแม่อ่อนแอ บริษัทลูกขาดอากาศหายใจ"

26 ธันวาคม 2567

วิเคราะห์เครื่องยนต์ใหม่ ISUZU คาด..ยังไม่ทิ้งเครื่อง 1.9 และ 3.0 เพราะ..?

16 พฤศจิกายน 2567

เวียตนาม ส่งออกเข้าไทย"สัญญาณเตือนครั้งใหญ่" หากรัฐไม่ตื่นมีล่ม

9 พฤศจิกายน 2567

BYD ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดรถไทย และบทเรียนของผู้เร่งซื้อBEV

3 กรกฏาคม 2567

ซูซูกิ ปิดโรงงานนัยยะแฝงที่มากกว่าหยุดผลิต

7 มิถุนายน 2567

ผ่าเนื้อในรถยนต์ไทย ทำไมร่วงเละ ไตรมาส 2 ยังไร้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

7 พฤษภาคม 2567

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับ